วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1. โชติกะเศรษฐี
2. เมณฑกะเศรษฐี
3. ชฏิลเศรษฐี
4. ธนัญชัยเศรษฐี
5. อนาถะบิณฑิกะเศณษฐี
6. โฆษกะเศรษฐี
7. กุกกุฎเศรษฐี
8.วิสาขามหาอุบาสิกา



1.ประวัติ - การเกิด , ความเป็นอยู่ และปราสาทแก้ว ๗ ชั้น
       ท่านโชติกะถือกำเนิดในตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่งในกรุงราชคฤห์ ซึ่งนครนี้มีพระราชาทรงพระนามว่า พระเจ้าพิมพิสาร
ในวันที่ท่านเกิดนั้น สรรพาวุธทั้งหลายในพระนครทั้งสิ้นรุ่งโรจน์แล้ว แม้เครื่องประดับ คือ อาภรณ์ทั้งหลายที่สวมกายของบรรดาปวงชนทั้งหลาย ก็เป็นราวกับว่ารุ่งโรจน์ คือ มีแสงสว่างโชติช่วง เปล่งรัศมีออกจากทุกคน พระนครนั้นสว่างไสวไปหมด แล้วท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดาของท่านก็ได้ไปสู่ที่บำรุงของพระราชาแต่เช้าตรู่
       คราวนั้นพระราชาได้ตรัสถามบิดาของท่านว่า วันนี้สรรพาวุธทั้งหลายรุ่งโรจน์เป็นแสงสวยแล้ว พระนครทั้งหมดก็รุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน ท่านทราบเหตุเรื่องนี้ไหม บิดาของท่านก็กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทราบพระพุทธเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า เป็นเพราะอะไรจึงได้เป็นอย่างนั้น บิดาของท่านกล่าวว่าทาสของพระองค์ เกิดในเรือนของข้าพระพุทธเจ้า พระเจ้าข้า ความรุ่งโรจน์นั้นได้มีแล้ว ด้วยเดชแห่งบุญของเขานั้นแล
พระราชาจึงได้ตรัสถามว่า เขาจะเป็นโจรกระมัง บิดาของท่านก็กราบถวายบังคมว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้อนั้นไม่มี สัตว์ผู้มีบุญได้ทำอภินิหารแล้วพระพุทธเจ้าข้า พระราชาจึงตรัสว่าถ้ากระนั้น เธอเลี้ยงเขาไว้ให้ดี จึงจะเป็นการสมควร เงินทองส่วนนี้จงเป็นค่าน้ำนมสำหรับเขา โดยพระราชาทรงตั้งทรัพย์ค่าเลี้ยงดูสำหรับเลี้ยงดูท่านซึ่งยังเป็นเด็กพึ่งเกิดในวันนั้นวันละ ๑,๐๐๐ กหาปณะ
       ครั้นในวันตั้งชื่อ บรรดาประชาชนทั้งหลายจึงได้ตั้งชื่อของท่านว่า โชติกะ (โชติกะ แปลว่ารุ่งโรจน์) เพราะเหตุว่าทำพระนครทั้งสิ้นให้รุ่งโรจน์ มีแสงสว่างในวันที่ท่านเกิด
       ต่อมาในเวลาที่ท่านเติบโตแล้ว ชนทั้งหลายจึงจับจองทำพื้นที่ เพื่อต้องการจะปลูกเรือนสำหรับท่าน ซึ่งทำให้ภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน ท้าวโกสียสักกเทวราช (พระอินทร์) ใคร่ครวญดูว่า นี่มันเหตุอะไรหนอ ก็ทรงทราบว่า ชนทั้งหลายกำลังจับจองที่สำหรับปลูกเรือนให้ท่านโชติกะ ท้าวสักกะทรงดำริว่า โชติกะนี้ จะไม่อยู่ในเรือนที่ชนทั้งหลายเหล่านั้นได้ทำแล้ว การที่เราไปในที่นั้น จึงเป็นการสมควร
แล้วก็เสด็จไปที่นั้นด้วยเพศแห่งนายช่างไม้ แล้วจึงตรัสว่า พวกท่านทำอะไรกัน คนทั้งหลายเหล่านั้นก็กล่าวว่า พวกฉันจับจองที่จะปลูกเรือนสำหรับโชติกะ ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) จึงตรัสว่า พวกท่านจงหลีกไป โชติกะนี้ จะไม่อยู่ในเรือนที่ท่านทั้งหลายปลูก แล้วก็ทรงทอดพระเนตรแลดูภาคพื้น มีปริมาณ ๑๖ กรีส ทรงใช้ฤทธิ์ของท่าน ปรับพื้นที่นั้นให้สม่ำเสมอกัน แล้วท้าวสักกเทวราชก็ทรงดำริว่าขอปราสาท ๗ ชั้นที่สำเร็จไปด้วยแก้ว ๗ ประการ จงชำแรกแทรกแผ่นดินขึ้นมา ณ ที่นี้ แล้วปราสาทที่สวยงามดังกล่าวก็ปรากฏขึ้นมา
       จากนั้นท้าวสักกเทวราชาก็ทรงดำริอีกว่า ขอกำแพง ๗ ชั้น ที่สำเร็จแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ จงปรากฏขึ้นแวดล้อมปราสาทนี้แล้วกำแพงสวยงามดังกล่าวก็ปรากฏขึ้น ท้าวสักกเทวราชก็ดำริต่อไปว่าขอต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลาย จงผุดขึ้นในที่สุดรอบกำแพงนั้น (ต้นกัลปพฤกษ์ คือ ต้นไม้ที่ใครปรารถนาอยากได้อะไรก็ได้ อยากได้เพชร สอยลงมา ก็เป็นเพชร อยากได้ผ้า สอยลงมาก็เป็นผ้า) แล้วต้นกัลปพฤกษ์ก็เกิดขึ้นที่นั้น จากนั้นท้าวสักกเทวราชก็ดำริว่า ขอขุมทรัพย์ทั้ง ๔ จงผุดขึ้นที่ ๔ มุมแห่งปราสาทแล้วขุมทรัพย์สมบัติ ๔ ขุมก็เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละขุมมีขนาดดังนี้ คือ ขุมหนึ่งประมาณ ๑ โยชน์, อีกขุมประมาณ ๓ คาวุต, อีกขุมประมาณ กึ่งโยชน์ และ อีกขุมประมาณ ๑ คาวุต
       แล้วนอกจากนั้นท้าวสักกเทวราชยังดำริให้มีซุ้มประตูถึง ๗ ซุ้ม รอบปราสาท ๗ ชั้นนั้น ซึ่งแต่ละซุ้มประตูจะมีเทวดายืนทำการรักษาประตูไว้ โดย -
              ซุ้มประตูที่ ๑ มีเทวดาชื่อว่า ยมโมลี พร้อมไปด้วยเทวดาที่เป็นบริวาร ๑,๐๐๐ ตน รักษาประตูอยู่
              ซุ้มประตูที่ ๒ มีเทวดาชื่อว่า อุปปละ พร้อมไปด้วยเทวดาที่เป็นบริวาร ๒,๐๐๐ ตน รักษาประตูอยู่
              ซุ้มประตูที่ ๓ มีเทวดาชื่อว่า วชิระ พร้อมไปด้วยเทวดาที่เป็นบริวาร ๓,๐๐๐ ตน รักษาประตูอยู่
              ซุ้มประตูที่ ๔ มีเทวดาชื่อว่า วชิรพาหุ พร้อมไปด้วยเทวดาที่เป็นบริวาร ๔,๐๐๐ ตน รักษาประตูอยู่
              ซุ้มประตูที่ ๕ มีเทวดาชื่อว่า สกฏะ พร้อมไปด้วยเทวดาที่เป็นบริวาร ๕,๐๐๐ ตน รักษาประตูอยู่
              ซุ้มประตูที่ ๖ มีเทวดาชื่อว่า สกฏัตถะ พร้อมไปด้วยเทวดาที่เป็นบริวาร ๖,๐๐๐ ตน รักษาประตูอยู่
              ซุ้มประตูที่ ๗ มีเทวดาชื่อว่า ทิสามุขะ พร้อมไปด้วยเทวดาที่เป็นบริวาร ๗,๐๐๐ ตน รักษาประตูอยู่
       เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบว่ามีปราสาท ๗ ชั้นที่สำเร็จไปด้วยแก้ว ๗ ประการมีกำแพงแก้ว ๗ ชั้น มีซุ้ม ๗ ซุ้ม มีขุมทรัพย์ ๔ ขุม เกิดขึ้นแล้วเพื่อท่านโชติกะ พระราชาจึงได้ทรงส่งฉัตรตำแหน่งของมหาเศรษฐี ไปให้ท่านโชติกะ (สมัยนั้นคนที่จะเป็นมหาเศรษฐี พระราชาต้องแต่งตั้งให้) ทำให้ท่านเป็น "โชติกเศรษฐี"
       ปรากฏว่า มีหญิงนางหนึ่ง นามว่า สตุลกายะ ซึ่งเป็นผู้ที่มีบุญกรรมอันกระทำไว้แล้วกับท่านเศรษฐีในชาติก่อนนั้น ได้เกิดขึ้นใน อุตตรกุรุทวีป (เป็นทวีปที่อยู่คนละโลกกับโลกของเรา แต่ว่าอยู่ในเขตของจักรวาลมนุษย์ ที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์ และสวยสดงดงามมาก ผู้คนที่นี่เขาไม่ใช้ไฟหุงต้ม เขาใช้แก้วมณี แสงสว่างทั้งหมดก็ใช้ด้วยอำนาจของแก้วมณี และแต่ละคนก็มีแก้วมณีติดกาย ทำให้แสงสว่างเกิดขึ้นรอบกาย แลดูสวยสดงดงามมาก ดังนั้นคนที่นี่จึงไม่รู้จักไฟ หรือแสงสว่างที่เกิดจากไฟ)
       ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า ครั้งนั้น เทวดานำนาง สตุลกายะ นี้มาจากอุตตรกุรุทวีปนั้นแล้ว ก็ให้อยู่ในห้องหนึ่งที่สวยงามและเป็นมงคล
เมื่อมา แม่นางผู้นี้ ก็ถือเอาทะนานข้าวสารทะนานหนึ่ง และแผ่นศิลาอันลุกโพลง ๓ แผ่น (แผ่นหินนี้ก็ คือ แก้วมณี ไม่มีเปลวไฟ มีแต่แสงออกมา) ซึ่งอาหารสำหรับจะทาน ก็ปรากฏขึ้นในทะนานข้าวสารนั้นตลอดชีวิต คือ ไม่จำเป็นต้องทำงานหรือต้องหาซื้อ เมื่อเวลาที่ต้องการจะทานข้าว ข้าวก็เกิดขึ้นในทะนานนั้น ต้องการจะทานขนมหรืออาหารชนิดใด สิ่งที่ต้องการนั้นก็เกิดขึ้นในทะนานนั้น โดยเวลาที่จะหุงอาหารก็เพียงใส่ข้าวสารลงไปในหม้อ แล้วก็วางไว้บนแผ่นศิลานั้น แล้วแผ่นศิลาก็ลุกโพลงขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง เมื่ออาหารสุกแล้ว แสงสว่างก็ดับไป ก็จะรู้ว่าอาหารสุกแล้ว หรือถ้าต้องการจะแกงก็ทำวิธีเดียวกัน
ตามพระบาลีท่านกล่าวต่อไปว่า สมบัติของท่านโชติกเศรษฐีนั้นมีมากถึงประการดังนี้ ได้ปรากฏไปทั่วชมพูทวีปทั้งสิ้น (คือ ความรวยของท่านได้ดังไปทั่ว) บรรดามหาชนทั้งหลาย ต่างพากันมาเพื่อดูทรัพย์สินของท่าน
       ท่านมหาเศรษฐี ได้สั่งให้หุงต้มอาหาร ด้วยอาหารจากทะนานที่นำมาจาก อุตตรกุรุทวีป แล้วให้แจกจ่ายแก่บุคคลทั้งหลายที่มาชมบ้านชมเมืองของท่าน แล้วก็บอกว่า ท่านทั้งหลาย จงถือเอาผ้า จงถือเอาเครื่องประดับจากต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลาย จากนั้นท่านมหาเศรษฐีก็เปิดปากขุมทรัพย์ ขุมหนึ่งที่มีขนาดประมาณ ๑ คาวุต แล้วก็บอกว่าท่านทั้งหลายจงถือเอาทรัพย์พอแก่ยังอัตภาพที่สามารถจะนำไปได้ (คือเอาไปเท่าที่สามารถเอาไปได้) เป็นอันว่า บรรดาชนทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งสิ้น ถือเอาทรัพย์ไป แต่ปากแห่งขุมทรัพย์ก็มิได้พร่อง หรือลดลงเลย
       ในกาลต่อมาเมื่อบุคคลที่มาปราสาทของท่านมหาเศรษฐีน้อยลง พระราชามีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรปราสาทของท่านโชติกเศรษฐี จึงได้ตรัสกับบิดาของท่านมหาเศรษฐีว่า ฉันมีความประสงค์จะชมปราสาทบุตรของท่าน บิดาของท่านจึงได้กราบทูลว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า แล้วบิดาของท่านก็บอกกับท่านว่า พ่อ พระราชามีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรปราสาทของเธอ ท่านมหาเศรษฐีรับคำจากบิดาว่า ดีละ คุณพ่อ ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด
พระราชาได้เสด็จไปที่ปราสาทของท่านพร้อมกับพระราชกุมารอชาตศัตรู และพร้อมไปด้วยข้าราชบริพารอีกเป็นอันมาก เมื่อไปถึงก็ทรงทอดพระเนตรเห็น ทาสี (ทาสผู้หญิง) ผู้ปัดกวาดหยากเยื่อที่ซุ้มประตูที่หนึ่ง ซึ่งนางนั้นได้ถวายมือแด่พระราชา (ไหว้พระราชา) พระราชาทรงละอาย ด้วยสำคัญว่า หญิงนั้นคือภรรยาของท่านมหาเศรษฐี เพราะนางมีความงามมาก และแม้ที่ซุ้มประตูที่เหลือทั้งหลาย ที่มีทาสีอยู่ พระราชาก็สำคัญว่าเป็นภรรยาของท่านมหาเศรษฐีทั้งหมด
ท่านมหาเศรษฐีได้ออกมาต้อนรับพระราชา พร้อมทั้งถวายบังคมแล้วก็มานั่งอยู่เบื้องหน้าของพระองค์ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอเชิญพระองค์เสด็จไปข้างหน้าเถิดพระพุทธเจ้าข้า - แต่แผ่นดินที่ประดับไปด้วยแก้วมณี ย่อมปรากฏแก่พระราชาเป็นเสมือนกับเหวลึกตั้ง ๑๐๐ ชั่วคน (หมายความว่าแผ่นดินทั้งผืน ที่ใช้สร้างปราสาท ต่างมีแก้วมณีเต็มไปหมด แล้วเพราะแก้วมณีใสมาก มองไปแล้วเหมือนกับเป็นเหวลึก) พระราชาจึงคิดว่า โชติกะนี้ขุดบ่อไว้เพื่อต้องการจะจับเรา พระราชาท่านจึงบอกว่า ท่านไม่อาจที่จะเสด็จไปได้เพราะเกรงว่าจะตกหลุม ท่านมหาเศรษฐีจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพข้างหน้านี้ไม่ใช่บ่อหรือหลุม พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์เสด็จไปข้างหลังข้าพระพุทธเจ้าเถิดพระเจ้าข้า แล้วท่านมหาเศรษฐีก็นำเสด็จพระราชาไป ซึ่งพระราชาทรงเหยียบพื้นในบริเวณที่ท่านมหาเศรษฐีเหยียบแล้ว เสด็จเที่ยวทอดพระเนตรปราสาททุกชั้น ซึ่งมีความสวยสดงดงามมาก
       คราวนั้น พระราชกุมารอชาตศัตรู ทรงจับองคุลีของพระราชบิดา (จับนิ้วมือของพระเจ้าพิมพิสาร) เสด็จเที่ยวไปอยู่ ทรงดำริว่า โอ..หนอ ทูลกระหม่อมของเราเป็นคหบดี ยังอยู่ปราสาทที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการนี้ได้ บิดาของเราเป็นถึงพระราชา ยังประทับอยู่ในพระราชมณเฑียรที่ทำด้วยไม้ เมื่อเราเป็นพระราชาแล้ว จักไม่ให้คหบดีผู้นี้อยู่ในปราสาทหลังนี้ (ความเป็นอันธพาลของพระราชกุมารอชาตศัตรู เริ่มตั้งแต่เป็นเด็ก อิจฉาท่านโชติกเศรษฐี คิดว่า ถ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินเมื่อไร จะยึดปราสาทหลังนี้มาเป็นของตน)
       เมื่อพระราชากำลังเสด็จอยู่ที่พื้นปราสาทนั่นเองเป็นเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า พระราชาตรัสเรียกท่านมหาเศรษฐีแล้วตรัสว่า พวกเราจักบริโภคอาหารเช้าในที่นี้ ท่านมหาเศรษฐีกราบทูลว่าข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ก็ทราบอยู่ พระกระยาหารสำหรับสมมติเทพ ข้าพระองค์เตรียมไว้แล้วพระพุทธเจ้าข้า
พระราชาทรงสรงสนาน (อาบน้ำ) ด้วยน้ำหอม ๑๖ หม้อ แล้วประทับบนบัลลังก์ อันเป็นที่นั่งของท่านโชติกเศรษฐี ซึ่งทำด้วยแก้วมณีเช่นกัน
ครั้งนั้น บุรุษทั้งหลาย ถวายน้ำสำหรับล้างพระหัตถ์แล้ว ก็คดข้าวปายาสที่เปียก จากภาชนะทองคำที่มีค่าได้แสนหนึ่งวางไว้ตรงหน้าพระพักตร์ พระราชาทรงเริ่มเสวย ด้วยมีความสำคัญว่าเป็นโภชนะ (อาหารสำหรับเสวย) ท่านมหาเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นี่ไม่ใช่โภชนะพระพุทธเจ้าข้า อันนี้เป็นข้าวปายาสเปียก ซึ่งข้าวนี้มีไว้สำหรับรองรับโภชนะ (ถ้าเป็นบ้านอื่น ข้าวปายาสก็คืออาหาร แต่ที่นี่พิเศษกว่าที่อื่น) การบริโภคโภชนะ ด้วยไออุ่นที่ฟุ้งขึ้นมากจากภาชนะข้าวปายาสเปียกนั้น ย่อมเป็นเหตุนำมาซึ่งความสบาย พระพุทธเจ้าข้า
       เมื่อพระราชาเสวยโภชนะที่มีรสอร่อย ก็มิได้ทรงรู้จักประมาณ ท่านมหาเศรษฐีจึงกราบทูล ว่าพอเถิดพระพุทธเจ้าข้า เพียงเท่านี้พอแล้ว พระองค์ไม่ทรงสามารถ เพื่อจะบริโภคให้ยิ่งไปกว่านี้ได้ พระราชาจึงตรัสถามว่า คหบดี เธอมีความหนักใจหรือ (กลัวสิ้นเปลืองหรือ) จึงได้ทูลทัดทานเราอย่างนี้
ท่านมหาเศรษฐีจึงกราบทูลว่า ข้อนั้นหามิได้พระพุทธเจ้าข้า เพราะว่าภัตรเพื่อหมู่พลของพระองค์แม้ทั้งหมดก็แบบนี้ แกงก็แบบนี้เช่นกัน มีเพียงพอสำหรับทุกคน แต่ทว่าข้าพระองค์กลัวแต่ความเสื่อมยศ พระราชาทรงถามว่า ที่ฉันกินแบบนี้ มันจะเสื่อมยศอย่างไร ท่านมหาเศรษฐีจึงกราบทุลว่า ด้วยเหตุสักว่า ความอึดอัดแห่งพระวรกายจะพึงมีแก่สมมติเทพ ข้าพระองค์กลัวแต่คำตำหนิว่าวานนี้พระราชาทรงเสวยพระกระยาหารในเรือนของท่านมหาเศรษฐี มหาเศรษฐีคงจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งถวายเป็นแน่ พระราชาจึงทรงพระประชวร
       พระราชาจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนำอาหารกลับไปและจงนำน้ำมา และเวลาที่เสร็จภัตตกิจแห่งพระราชา ข้าราชบริพารทั้งหมดก็ทานของที่พระราชาทรงเสวย (ที่บ้านนี้เขาไม่ได้แยกว่าพ่อบ้านแม่เรือนทานอย่างนี้ คนรับใช้ทานอย่างนี้ เพราะความเป็นมหาเศรษฐีของเขา ทุกคนจึงได้ทานเหมือนกัน)
เมื่อพระราชาทรงประทับนั่งสนทนาปรารภถึงความสุข ตรัสเรียกท่านมหาเศรษฐี แล้วตรัสว่า ภรรยาของท่านในเรือนนี้ไม่มีหรือ (ความจริง พระราชาเห็นทาสี ที่หน้าประตูซุ้มในตอนแรก ก็เข้าใจว่าเป็นภรรยาของท่านมหาเศรษฐีแล้ว แต่พอเข้ามาในปราสาทเห็นว่าคนที่นี่ไม่มีใครที่ไม่ประดับประดาร่างกายด้วยแก้ว ๗ ประการ แม้แต่คนใช้เทกระโถน ก็แต่งตัวดีเช่นกัน จึงได้มีความสงสัย) ท่านมหาเศรษฐีจึงกราบทูลว่ามีพระพุทธเจ้าข้า พระราชาจึงตรัสถามว่า เวลานี้ภรรยาของท่านอยู่ที่ไหน ท่านมหาเศรษฐีจึงกราบทูลว่า นางนั่งอยู่ในห้องอันมีสิริ ยังไม่ทราบเกล้าว่า องค์สมมติเทพเสด็จมาพระพุทธเจ้าข้า
ลำดับนั้นท่านโชติกเศรษฐีรู้ว่า พระราชามีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรภรรยาของตน จึงไปสำนักของภรรยาแล้วบอกว่า พระราชาเสด็จมาแล้ว การที่เธอจะเข้าไปเฝ้าพระราชา เธอเห็นว่า สมควรหรือไม่สมควรประการใด (คือ ท่านเศรษฐีมีประชาธิปไตย ถามภรรยาก่อนว่า ควรจะไปเฝ้าพระราชาไหม) นางจึงกล่าวว่า นาย ชื่อว่าพระราชาเป็นอย่างไร (นางไม่รู้จัก เพราะนางอยู่อย่างมีความสุขมาก ไม่เคยต้องเดือดร้อนเรื่องเสียภาษี อยากได้อะไรก็มีต้นกัลปพฤกษ์ให้) ท่านเศรษฐีจึงบอกว่า คนที่เป็นใหญ่ของพวกเรา ชื่อว่า พระราชา
       นางจึงพูดว่า พวกเรามีแม้บุคคลผู้เป็นใหญ่ นับว่าทำบุญกรรมทั้งหลายไว้ไม่ดีหนอ จึงถึงสมบัติอันเกิดแล้วในท้องที่ของชนอื่นผู้เป็นใหญ่ (คือ เราคงทำบุญไว้ไม่ดีพอ จึงยังคงมีผู้ที่ใหญ่กว่าอยู่อีก) แล้วนางก็กล่าวว่า นาย บัดนี้ฉันจักทำอย่างไร ท่านมหาเศรษฐีจึงบอกว่า เธอจงถือเอาพัดก้านตาล ไปพัดถวายพระราชา ให้พระราชามีความสุข เมื่อนางถือพัดก้านตาลมาพัดถวายพระราชาอยู่ ลมกลิ่นแห่งภูษาสำหรับพระราชากระทบนัยน์ตาของนาง ทำให้น้ำตาของนางไหลออกจากตา พระราชาทอดพระเนตรเห็นอาการอย่างนั้น จึงตรัสถามกับท่านมหาเศรษฐีว่า ท่านมหาเศรษฐี ธรรมดามาตุคามมีความรู้น้อย ชะรอย จะร้องไห้ เพราะกลัวว่าพระราชาจะยึดเอาสมบัติของสามี ท่านจงปลอบนางว่า เราไม่มีความต้องการได้สมบัติของนาง
ท่านมหาเศรษฐีจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นางไม่ได้ร้องไห้ พระพุทธเจ้าข้า น้ำตาของนางไหลออกเพราะกลิ่นแห่งภูษาสำหรับโพกพระเศียรของพระองค์ และภรรยาของข้าพระองค์ไม่เคยเห็นแสงสว่างของประทีป (แสงสว่างของไฟ) ย่อมนั่งและนอนด้วยแสงสว่างของแก้วมณีเท่านั้น ส่วนสมมติเทพคงจักประทับนั่งด้วยแสงสว่างแห่งประทีป
       ตอนนี้พระราชาแปลกใจ พระราชาจึงได้ตรัสว่าถูกแล้ว ท่านมหาเศรษฐี ในพระราชฐานเขาใช้ตะเกียง เขาใช้โคมไฟกัน ที่นี่เขาไม่ได้ใช้หรืออย่างไร ท่านมหาเศรษฐีจึงกราบทูลว่าข้าแต่สมมติเทพ ถ้าเช่นนั้นจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไปขอพระองค์จงประทับนั่ง ด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณี แล้วก็ได้ถวายแก้วมณีอันมีค่ามาก ใหญ่ประมาณเท่ากับผลแตงโม
       พระราชาทรงทอดพระเนตรปราสาทและทรัพย์สมบัติต่างๆของท่านมหาเศรษ,ฐีแล้ว ทรงตรัสว่าสมบัติโชติกะนี้มากจริงๆน่ะ แล้วก็ทรงเสด็จกลับพระราชวัง


2.
ชฎิลเศรษฐี

กรรมเกิดจากเหตุ

     ในอดีตกาลครั้งพุทธกาลของพระกัสสปะพุทธเจ้า เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว มหาชนได้ร่วมกันสร้างพุทธเจดีย์แห่งหนึ่ง

     วันหนึ่ง มีพระขีณาสพเข้าไปในเมือง ชักชวนชาวเมืองร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ ท่านเดินไปถึงร้านทองร้านหนึ่ง บังเอิญว่าขณะนั้นนายช่างทองกำลังทะเลาะกับภรรยา เขาจึงพูดแดกดันภรรยาว่า

     "เธอจงโยนพระศาสดาของเธอลงน้ำไปเสีย"

     ภรรยานายช่างทองพูดเตือนสติสามีว่าทำไมท่านจึงเผลอทำกรรมล่วงเกินพระศาสดาเล่า นายช่างทองได้สติ รีบหมอบกราบขออดโทษที่แทบเท้าพระเถระ แต่พระเถระบอกว่า

     “โยมไม่ได้กล่าวล่วงเกินอาตมา แต่โยมล่วงเกินพระศาสดา โยมต้องให้พระศาสดาอดโทษให้”

     นายช่างทองถามว่า “พระคุณเจ้า พระศาสดาปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้าต้องทำอย่างไรเล่า พระศาสดาจึงจะอดโทษได้”

     พระเถระบอกว่า “ท่านจงทำหม้อดอกไม้ทองคำ ๓ หม้อ บูชาในเจดีย์บรรจุพระธาตุ แล้วทูลขอพระศาสดาให้อดโทษเถิด”

     นายช่างทองมีบุตรชาย ๓ คน จึงเรียกบุตรชายให้มาช่วยทำหม้อดอกไม้ทองคำ

     บุตรคนโตไม่ช่วย บอกว่าพ่อทำกรรมนั้นเองก็ต้องแก้ไขเอง

     บุตรคนรองก็ปฏิเสธเหมือนกัน

     แต่บุตรคนเล็กไม่เกี่ยงงอน ช่วยบิดาทำดอกไม้ทองไปบูชา กราบทูลขอขมาพระบรมศาสดา

     พ้นจากชาตินั้นแล้ว นายช่างทอง ภรรยา และบุตร ก็โลดแล่นไปตามบุญกรรม


ถูกลอยน้ำ

     ครั้นถึงพุทธกาลปัจจุบัน

     ในนครพาราณสีมีเศรษฐีตระกูลหนึ่ง มีธิดาสาวสวย เมื่อเธอมีอายุ ๑๕-๑๖ ปี บิดาได้ให้นางอยู่แต่ในห้องบนปราสาทชั้น ๗ เพราะกลัวว่าธิดาจะไปรักชอบชายที่ไม่คู่ควร โดยเศรษฐีให้หญิงรับใช้คนหนึ่งคอยดูแล แต่ความสวยของธิดาเศรษฐีไม่พ้นสายตาชาย เธอจึงได้เชยชิดกับวิทยาธรตนหนึ่งจนตั้งครรภ์ โดยอดีตนายช่างทองได้มาปฏิสนธิในครรภ์ธิดาเศรษฐี


     ด้วยผลกรรมที่เคยพูดว่าให้จับพระศาสดาโยนลงน้ำ เมื่อคลอดแล้วธิดาเศรษฐีจึงได้จับทารกน้อยใส่ลงภาชนะ เอาดอกไม้ปิด แล้วสั่งให้หญิงรับใช้นำไปลอยแม่น้ำคงคา ทารกน้อยจึงถูกปล่อยลอยน้ำไปตามยถากรรม


     หญิง ๒ คนกำลังอาบน้ำอยู่เห็นภาชนะลอยมา คนหนึ่งบอกว่าภาชนะนั้นเป็นของฉัน อีกคนหนึ่งบอกว่าสิ่งของในภาชนะเป็นของฉัน พอนำภาชนะขึ้นฝั่งแล้วเปิดออกดูก็เห็นทารกน้อย หญิงทั้งสองจึงแย่งกันเป็นเจ้าของทารก หญิงคนแรกบอกว่าเด็กเป็นของฉันเพราะฉันบอกก่อนว่าภาชนะเป็นของฉัน หญิงคนที่สองไม่ยอม บอกว่าเด็กเป็นของฉันเพราะเธอบอกว่าภาชนะเป็นของเธอ ส่วนฉันบอกว่าของในภาชนะเป็นของฉัน

     หญิงทั้งสองไปให้ศาลวินิจฉัย ศาลวินิจฉัยไม่ได้จึงต้องให้พระราชาวินิจฉัย พระราชาตัดสินให้ภาชนะเป็นของหญิงคนแรก เด็กเป็นของหญิงคนที่สอง หญิงคนที่สองจึงรับเด็กไปอุปการะ


     เด็กคนนี้พอโตขึ้นหน่อยก็มีผมรุงรัง เหมือนผมของชฎิล หญิงแม่เลี้ยงจึงตั้งชื่อว่า ชฎิละ


ย้ายไปตักกสิลา

     สมัยนั้นพระกัจจายนะจาริกมาใกล้เรือนของชฎิละ มารดาเลี้ยงอุปัฏฐากพระเถระอยู่ จนเมื่อพระเถระจะจาริกไปต่อ มารดาเลี้ยงจึงถวายชฎิละให้พระเถระ หวังจะให้บวชเณร

     พระกัจจายนะตรวจดูบุญกรรมของชฎิละ รู้ว่าเป็นคนมีวาสนาทั้งทางโลกและทางธรรม จึงรับตัวไว้ แล้วพาเดินทางไปถึงเมืองตักกสิลา


ชฎิละขายของ

     พระกัจจายนะเถระฝากให้พ่อค้าอุปัฏฐากคนหนึ่งในเมืองตักกสิลาช่วยเลี้ยงดูชฎิละให้ก่อน พ่อค้าคนนั้นรับไว้ แล้วให้ชฎิละช่วยค้าขายด้วยตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนย่างเข้าวัยหนุ่ม

     วันหนึ่ง พ่อค้านำสินค้าไปตลาด กำหนดราคาสินค้าแล้วไปทำธุระที่อื่น ปล่อยชฎิละช่วยเฝ้าสินค้าไว้ไม่คิดว่าจะขายได้ เพราะสินค้านี้พ่อค้าซื้อมา ๑๒ ปีแล้วยังขายไม่หมด แต่วันนั้น เทวดารักษานครได้ดลใจชาวบ้านที่ต้องการสินค้าให้มาซื้อกับชฎิละเท่านั้น ชฎิละจึงขายสินค้าที่ค้างไว้ถึง ๑๒ ปีจนหมดภายในวันเดียว พ่อค้ากลับมาเห็นสินค้าขายหมดก็ปลื้มใจว่าชฎิละเป็นคนมีบุญ จึงปลูกเรือนให้ และยกธิดาให้เป็นภรรยา


ภูเขาทองหลังเรือน

     ด้วยผลบุญที่ทำดอกไม้ทองบูชาพระศาสดา พอชฎิละก้าวเท้าเหยียบธรณีประตูเรือนหลังใหม่ ภูเขาทอง ๘๐ ศอก ก็ผุดขึ้นที่หลังเรือน เขาจึงกลายเป็นมหาเศรษฐี พระราชาพระราชทานฉัตรให้ แต่งตั้งเป็น ชฎิลเศรษฐี

     ชฎิลเศรษฐีมีบุตรชาย ๓ คน เมื่อบุตรเจริญวัยแล้วเขาจึงคิดจะออกบวช แต่ติดว่าตนเองเป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์มากมายจนนับไม่ถ้วน เป็นเศรษฐีเหนือเศรษฐี มีศักดิ์มีศรีมียศใหญ่ไม่ต่างจากพระราชา บุตรทั้งสามคงไม่ยอมให้บวชแน่ แต่ถ้าบุตรรู้ว่าชมพูทวีปมีเศรษฐีอื่นที่มีทรัพย์มากมายนับไม่ถ้วนเป็นมหาเศรษฐีเหมือนตน การเป็นมหาเศรษฐีเป็นเรื่องธรรมดาไม่มีความพิเศษเหนือใคร บุตรคงยอมให้บวช

     คิดแล้วชฎิลเศรษฐีจึงคิดจะค้นหามหาเศรษฐีในชมพูทวีป


ค้นหาเศรษฐี

     ชฎิลเศรษฐีให้ช่างทำอิฐด้วยทองคำ ด้ามปฏักทองคำ และรองเท้าทองคำ แล้วให้คนของตนไปหาของแบบนี้ว่ามีอยู่ที่ใดบ้าง หมายใจว่าผู้ที่มีสิ่งของเหล่านี้จะต้องเป็นมหาเศรษฐีเหมือนกัน

     บุรุษเหล่านั้นเที่ยวค้นหาไปทั่วทิศ เดินทางไปแคว้นโกศล พาราณสี มคธ ไปจนถึงภัททิยนครแห่งแคว้นอังคะ เที่ยวถามหาว่ามีเศรษฐีที่ไหนมีของแบบนี้บ้าง

     เมณฑกเศรษฐีแห่งภัททิยนครเห็นบุรุษเหล่านั้นจึงถามว่าพวกท่านมาหาอะไร บุรุษพวกนั้นนำอิฐ ปฏัก และรองเท้าทองคำให้ดู บอกว่าพวกตนหาสิ่งของแบบนี้ เมณฑกเศรษฐีเห็นก็รู้ว่าของนี่เป็นสมบัติของมหาเศรษฐี เขาให้คนมาค้นหาเศรษฐีที่มีทรัพย์เสมอกัน คิดแล้วจึงบอกว่าพวกท่านลองไปดูที่หลังเรือนของเราว่ามีไหม

     บุรุษพวกนั้นไปดูหลังเรือนเมณฑกเศรษฐี เห็นหลังเรือนเมณฑกเศรษฐีมีแพะทองคำขนาดเท่าช้าง ม้า และโคอุสุภะ ผุดขึ้นจากแผ่นดินจนเต็มพื้นที่ ๘ กรีส จึงรีบกลับไปบอกชฎิลเศรษฐีว่าพบเศรษฐีที่มีทรัพย์เสมอกันแล้วอยู่ที่ภัททิยนคร

     ชฎิลเศรษฐีฟังแล้วก็มีใจแช่มชื่นว่าเศรษฐีตระกูลอื่นมีทรัพย์เหมือนเรา แต่จะมีเศรษฐีตระกูลอื่นอีกไหมหนอ


ค้นหาเศรษฐีคนอื่น

     ชฎิลเศรษฐีให้บุรุษพวกนั้นไปหาเศรษฐีตระกูลอื่นอีก ครั้งนี้ออกอุบายให้นำผ้ากัมพลเนื้อดีของของตักกสิลามูลค่าแสนหนึ่งไปด้วย ให้นำผ้าไปทำทีจะเผาเพื่อจะค้นหาเศรษฐี

     บุรุษพวกนั้นเดินทางหาเศรษฐีกันอีกครั้งจนมาถึงกรุงราชคฤห์ เขาไปก่อกองไฟที่ข้างเรือนโชติกเศรษฐี เมื่อมีคนถามว่าจุดไฟจะทำอะไร บุรุษพวกนั้นตอบว่าพวกเรานำผ้ากัมพลเนื้อดีจากตักกสิลามาขาย แต่ผ้ามีมูลค่ามากจึงขายไม่ได้ พวกเราจะเดินทางกลับก็กลัวโจรปล้น เพราะเหตุนี้พวกเราจึงจะเผาผ้านี้เสียก่อนจึงค่อยเดินทางกลับ

     โชติกเศรษฐีได้ยินว่าบุรุษพวกนี้จะเผาผ้าจึงช่วยรับซื้อไว้ แล้วสั่งให้คนเอาไปให้ทาสีคนกวาดพื้นที่ซุ้มประตูปราสาทของตน นางทาสีพอรับผ้ากัมพลผืนนั้นแล้วก็เสียใจร้องไห้ เข้าไปหาโชติกเศรษฐีถามว่าเธอมีความผิดอะไรท่านเศรษฐีจึงลงโทษให้ผ้ากัมพลเนื้อหยาบนี้ แล้วเธอจะนุ่งหรือห่มผ้ากัมพลผืนนี้ได้อย่างไร

     โชติกเศรษฐีบอกว่า ฉันไม่ได้ให้เธอเอาไปทำผ้านุ่งผ้าห่ม แต่ให้เธอเอาไปทำเป็นผ้าเช็ดเท้า เมื่อเธอล้างเท้าด้วยน้ำหอมก่อนเข้านอนก็จงใช้ผ้าผืนนี้เช็ดเท้า นางทาสีได้ฟังจึงหยุดร้องไห้รับผ้ากัมพลกลับไป

     พวกบุรุษเหล่านั้นเห็นเหตุการณ์แล้ว จึงกลับไปเล่าให้ชฎิลเศรษฐีฟัง


ชฎิลเศรษฐีออกบวช

     ชฎิลเศรษฐีดีใจที่ชมพูทวีปมีมหาเศรษฐีมีทรัพย์มากเหมือนตน จึงไปเข้าเฝ้าพระราชากราบทูลว่าจะบวช เมื่อพระราชาอนุญาตแล้วเขาจึงเรียกบุตรทั้งสามมาเพื่อจะยกทรัพย์ให้ แต่ต้องทดลองดูก่อนว่าทรัพย์นี้เกิดมาเพื่อบุตรคนไหน จึงสั่งให้บุตรชายเอาจอบไปขุดทอง

     บุตรชายคนโตขุดทองไม่ออก เพราะทองแข็งดังศิลา

     บุตรชายคนรองก็ขุดทองไม่ออกเหมือนกัน

     แต่บุตรคนเล็กกลับขุดทองได้ง่ายดายเหมือนขุดดิน เพราะบุตรคนนี้ในอดีตชาติคือคนที่ช่วยช่างทองทำดอกไม้ทองคำ


     เศรษฐีบอกบุตรทั้งสามว่า ทรัพย์ทั้งหลายเหล่านี้เกิดมาเพื่อบิดาและน้องเล็กเท่านั้น บิดาจึงยกทรัพย์ให้น้องเล็กทั้งหมด แต่พวกเจ้าก็จงอยู่ร่วมกันและใช้สอยทรัพย์กับน้องเล็กเถิด


     เมื่อยกทรัพย์ให้บุตรแล้ว ชฎิลเศรษฐีจึงไปบวช

     หลังจากบวชเพียง ๒-๓ วัน ชฎิลภิกษุก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์



3.
โอวาทธนัญชัยเศรษฐี ๑๐ ประการ
(จาก ธรรมบท ภาค ๓)
โอวาทของธนัญชัยเศรษฐีได้ให้ไว้แก่นางวิสาขาก่อนออกเรือน
ถือว่าเป็นข้อวัตรปฏิบัติที่ดีสำหรับสตรีทั่วไป
 ๑. อนฺโต อคฺคิ พหิ น นีหริตพฺโพ
 ไฟในอย่านำออก หมายถึงไม่ควรนำความลับหรือเรื่องไม่ดีงามภายในครอบครัว ไปบอกเล่าให้คนภายนอกได้รับรู้
  
 ๒. พหิ อคฺคิ อนฺโต น นีหริตพฺโต
 ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึงไม่ควรนำคำนินทาว่าร้ายเสียดสีด้วยความอิจฉาริษยา จากบุคคลภายนอกมาสู่ครอบครัว อันจะเป็นเหตุให้เกิดเรื่องไม่ดีงามและความบาดหมาง
  
  ๓. ททนฺตสฺเสว ทาตพฺพํ
 พึงให้แก่คนที่ให้ หมายถึงคนที่เคยเกื้อหนุนเอื้อเฟื้อควรมีน้ำใจไมตรีตอบแทน เมื่อมีผู้มาหยิบยืมข้าวของเงินทอง ควรให้แก่คนที่นำมาคืนเท่านั้น
  
 ๔. อทนฺทตฺส น ทาตพฺพํ
 พึงอย่าให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายถึงคนที่ไม่เคยเกื้อหนุนเอื้อเฟื้อมีน้ำใจก็ไม่ควรทำใจกว้างหรือทำหน้าใหญ่ใจโต ผู้ที่เคยหยิบยืมแล้วไม่นำมาคืน คราวต่อไปหากยังกล้ามาหยิบยืมอีก ไม่ควรให้
  
 ๕. ททนฺตสฺสาปิ อทนฺตสฺสาปิ ทาตพฺพํ
 พึงให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายถึงการสงเคราะห์ญาติและมิตรสหาย แม้เขาจะนำมาคืนหรือไม่ก็ตาม เมื่อเห็นว่าเป็นการสมควร หรือเขาเป็นคนดีควรแก่การเกื้อหนุนอนุเคราะห์ก็ควรให้
  
 ๖. สุขํ นิสีทิตพฺพํ
 พึงนั่งให้เป็นสุข  หมายถึงการนั่งในที่อันเหมาะอันควร ไม่เกะกะขวางทาง ไม่ต้องคอยลุกหลีกเมื่อพ่อสามีแม่สามีหรือผู้ใหญ่เดินผ่าน และนั่งเมื่อจัดการงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  
 ๗. สุขํ ภุญฺชิตพฺพํ
 พึงนอนให้เป็นสุข หมายถึงควรนอนทีหลังพ่อสามีแม่สามี และสามีได้เข้านอนแล้ว คือต้องตรวจดูข้าวของกลอนประตูหน้าต่างและฟืนไฟให้เป็นที่เรียบร้อย ทั้งจัดแจงข้าวของที่จำเป็นสำหรับหุงหาหรือใช้สอยในวันรุ่งขึ้นให้พร้อมมูลครบครัน จึงจะถือได้ว่าเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี
  
 ๘. สุขํ นิปชฺชิตพฺพํ
 พึงกินให้เป็นสุข หมายถึงควรจัดข้าวปลาอาหารสำหรับพ่อสามีแม่สามีรวมทั้งสามีและบุตรให้เป็นที่เรียบร้อย
  
 ๙. อคฺคิ ปริจริตพฺโพ
 พึงบูชาไฟ หมายถึงการให้ความเคารพยำเกรงสามีและบิดามารดาของสามีตลอดจนญาติผู้ใหญ่
  
๑๐. อนฺโต เทวตา นมสฺสิตพฺพา
 พึงบูชาเทวดา หมายถึงให้นับถือบิดามารดาสามีและบรรพบุรุษ
 
  

4.อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือ สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี เป็นชาวเมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล มีชีวิตร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า เดิมท่านมีนามว่าสุทัตตะเศรษฐี เกิดในตระกูลของสุมนะเศรษฐีผู้เป็นบิดา ท่านเป็นเศรษฐีที่ใจบุญ ชอบช่วยเหลือคนตกยาก ทำให้ท่านถูกเรียกจากชาวเมืองสาวัตถีว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี แปลว่า เศรษฐีผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก (แปลตามศัพท์ว่า เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวให้กับคนยากจน)
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ไปค้าขายและได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์จนบรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านจึงมีศรัทธาสร้างวัดเชตวันมหาวิหารถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเงินจำนวนมาก ท่านได้เป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อย่างดีมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่วัดพระเชตวันที่ท่านสร้างมากกว่าที่ประทับใด ๆ ถึง 19 พรรษา[1]
เรื่องราวของอนาถบิณฑิกเศรษฐี มีปรากฏมากมายในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องราวที่แสดงถึงความศรัทธา ความมีสติปัญญา และความเอาใจใส่ในการบำรุงพระพุทธศาสนา ทำให้ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็น อุบาสกผู้เลิศในการเป็นผู้ถวายทาน 

5.มาต่อกันด้วยเรื่องของมหาเศรษฐีคนที่สอง ซึ่งในตอนก่อนบอกว่าเคยเป็นญาติเกี่ยวข้องกับอปราชิตเศรษฐีเมื่อสมัย ๙๑ กัปก่อน แต่มาชาตินี้ทั้งสองเกิดกันคนละแคว้น คนนี้เป็นมหาเศรษฐีใหญ่มากชื่อว่า เมณฑกเศรษฐี เป็นมหาเศรษฐีแห่งภัททิยนคร แคว้นอังคะ ที่ชื่อเมณฑกะเพราะมีแพะทองคำตัวเท่าโคอยู่เต็มหลังบ้าน
นอกจากจะรวยแสนรวยแล้ว รายจ่ายของเศรษฐีแทบจะไม่มีอะไร เพราะข้าวเปลือกในยุ้งฉางของเศรษฐีไม่เคยพร่องลงเลย จะขนออำไปกี่ร้อยเล่มเกวียนในยุ้งฉางก็ยังมีข้าวเปลือกอยู่เท่านั้น
นอกจากตัวเองจะรวยระดับมหาเศรษฐีแล้ว รอบตัวของเมณฑกเศรษฐีก็ล้วนเป็นมหาเศรษฐี คือ ภรรยาชื่อจันทปทุมาก็เป็นมหาเศรษฐี บุตรชายชื่อธนัญชัย ลูกสะใภ้ชื่อสุมนาเทวี ก็เป็นมหาเศรษฐี มารุ่นหลานคือหลานสาวชื่อวิสาขา และหลานชายชื่ออุคคหะ ก็ล้วนเป็นมหาเศรษฐีทั้งสิ้น
ก่อนจะเล่าถึงชีวิตในชาติปัจจุบัน ก็ขอยอ้นกลับไปเมื่อ ๙๑ กัปก่อนครับ

บุรพกรรมสร้างศาลาราย
อดีตกาล ๙๑ กัปล่วงมาแล้ว ครั้งนั้นเป็นพุทธกาลของพระวิปัสสีพุทธเจ้า พระองค์ประทับจำพรรษาในพันธุมวดีนคร เศรษฐีชื่อ อปราชิตะ มีจิตศรัทธาสร้างพระคันธกุฎีถวายพระศาสดา
อปราชิตเศรษฐีมีหลานชายคนหนึ่งชื่อ อวโรชะ หลานชายได้ข่าวว่าลุงกำลังสร้างพระคันธกุฎีจึงมาขอร่วมทำบุญด้วย แต่อปราชิตเศรษฐีปฏิเสธ บอกว่าบุญนี้ลุงตั้งใจทำคนเดียว แม้อวโรชะอ้อนวอนหลายครั้งเศรษฐีก็ไม่ยอม อวโรชะคิดว่าเมื่อลุงไม่ยอมให้ร่วมสร้างพระคันธกุฎี เขาก็จะสร้างศาลารายแทน คิดแล้วจึงสั่งให้คนไปขนไม้จากในป่ามาสร้างศาลาราย
อวโรชะให้สร้างศาลารายอย่างวิจิตร เสาของศาลาต้นหนึ่งบุด้วยทองคำ ต้นหนึ่งบุด้วยเงิน ต้นหนึ่งบุด้วยแก้วมณี พวกขื่อ คาน บานประตู บานหน้าต่าง ก็บุด้วยทองคำทั้งหมด บนหลังคามีจอมยอด ๓ ยอด ประดับด้วยทองคำ แก้วผลึก และแก้วประพาฬ
กลางศาลารายให้สร้างมณฑปประดับแก้วและตั้งธรรมาสน์ไว้ เท้าธรรมาสน์ทำด้วยทองคำสีสุกเป็นแท่ง เท้าธรรมาสน์รองด้วยแพะทองคำ ๔ ตัว มีแพะทองคำ ๒ ตัวตั้งไว้ใต้ตั่งสำหรับรองเท้า และมีแพะทองคำอีก ๖ ตัวตั้งแวดล้อมมณฑป ถักธรรมาสน์ด้วยด้าย ทองคำ และแก้วมุกดา
เมื่อสร้างศาลารายเสร็จแล้ว อวโรชะก็นิมนต์พระศาสดาพร้อมภิกษุ ๖ ล้าน ๘ แสน มาถวายทานฉลองศาลาเป็นเวลา ๔ เดือน วันสุดท้ายได้ถวายผ้าไตรจีวรแก่พระภิกษุทุกรูป
อวโรชะเมื่อทำกาละแล้ว ก็ไปอุบัติในเทวโลก

เศรษฐีตกยาก
อวโรชะท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษย์โลก จนถึงภัททกัปนี้ก็ได้มาเกิดเป็นเศรษฐีในนครพาราณสีในช่วงที่โลกว่างจากพระศาสนา
วันหนึ่ง เศรษฐีไปเข้าเฝ้าพระราชาได้พบกับปุโรหิตจึงถามว่า ท่านอาจารย์ ท่านตรวจดูฤกษ์ยามบ้างหรือไม่ว่าบ้านเมืองของเราจะเป็นอย่างไร ปุโรหิตตอบว่าตรวจดูแล้ว ล่วงไป ๓ ปีนับจากปีนี้ บ้านเมืองของเราจะเกิดฉาตกภัย คือ ภัยจากความอดอยาก
เศรษฐีฟังคำของปุโรหิตแล้วไม่ประมาทเตรียมตัวรับฉาตกภัย สั่งให้บริวารปลูกข้าวจำนวนมากและรับซื้อข้าวเปลือกมาเก็บตุนไว้เต็มฉาง ๑,๒๕๐ ฉาง เมื่อเก็บข้าวจนเต็มยุ้งฉางแล้ว ก็นำข้าวไปบรรจุตุ่มไหจนเต็มนำไปฝังดินไว้อีก และนำข้าวเปลือกที่เหลือมาขยำกับดินฉาบทาฝาเรือนไว้
เมื่อกรุงพาราณสีเริ่มเกิดภัยความอดอยาก เศรษฐีจึงนำข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในฉางออกมาบริโภคและเลี้ยงทาสบริวาร เมื่อข้าวเปลือกในฉางหมดแต่ภัยยังไม่หมดก็นำข้าวเปลือกในตุ่มในไหที่ฝังดินไว้ออกมาใช้อีก ในที่สุดก็บริโภคข้าวเปลือกจนหมด เศรษฐีจึงเรียกบริวารมาบอกว่าตอนนี้อาหารหมดแล้ว พวกเจ้าจงแยกย้ายกันไปก่อน วันหน้าเมื่ออาหารบริบูรณ์หากอยากจะกลับมาอยู่กับเราอีกก็จงกลับมา
ทาสบริวารทั้งหลายจึงพากันแยกย้ายไป ยกเว้นทาสคนหนึ่งชื่อปุณณะขออยู่กับเศรษฐีต่อไป ครั้งนั้นเรือนเศรษฐีจึงเหลือคนอยู่ ๕ คน คือ เศรษฐี ภรรยา บุตรชาย บุตรสะใภ้ และนายปุณณะ ทั้ง ๕ คนอยู่รอดได้ด้วยการนำดินที่ฉาบฝาเรือนไว้มาละลายน้ำ แยกข้าวเปลือกออกมาตำเป็นข้าวสาร ใช้เลี้ยงชีวิตด้วยความลำบาก
วันหนึ่ง ภรรยาเศรษฐีได้พังฝาเรือนชิ้นสุดท้ายนำดินมาแช่น้ำ ได้ข้าวเปลือกประมาณ ๒ ทะนาน ตำเป็นข้าวสารได้ทะนานหนึ่ง เธอนำข้าวสารใส่หม้อฝังดินไว้เพราะกลัวพวกโจร
ฝ่ายเศรษฐีกลับมาจากเข้าเฝ้าพระราชา ถามภรรยาว่า ฉันหิว เธอมีอะไรกินบ้างไหม ภรรยาบอกว่ามีข้าวสารอีกทะนานหนึ่งฝังดินไว้ ถ้าหุงข้าวสวยก็จะพอกินมื้อเดียว แต่ถ้าหุงเป็นข้าวต้มจะพอกิน ๒ มื้อ ท่านจะให้หุงข้าวแบบไหน
เศรษฐีบอกว่า หุงข้าวแบบไหนสุดท้ายพวกเราก็ต้องอดตายกันอยู่ดี เธอจงหุงเป็นข้าวสวยก็แล้วกัน ภรรยาเศรษฐีจึงหุงข้าวสวยแล้วแบ่งเป็น ๕ ส่วน สำหรับ ๕ คน คดข้าวสวยส่วนหนึ่งมาให้เศรษฐี

ถวายภัตพระปัจเจกพุทธเจ้า
ขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าออกจากสมาบัติ พิจารณาด้วยทิพพจักษุญาณว่าเศรษฐีและบริวารเป็นผู้ควรสงเคราะห์ และพวกเขาถึงพร้อมด้วยความศรัทธา พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงถือบาตรมาจากภูเขาคันธมาทน์ ไปแสดงตนยืนอยู่ที่ประตู เรือนเศรษฐี
เศรษฐีเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ายืนอยู่หน้าประตูเรือนก็มีจิตเลื่อมใส คิดว่าเราประสบฉาตกภัยอดอยากปานนี้เพราะเราไม่ให้ทานในกาลก่อน อาหารมื้อนี้ถ้าเรากินก็มีประโยชน์แค่อิ่มมื้อเดียว แต่ถ้าเราถวายทานแก่พระผู้เป็นเจ้าก็จะมีประโยชน์เกื้อกูลแก่เราหลายโกฏิกัป คิดแล้วจึงนิมนต์ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้ามาในเรือน
เศรษฐีนำข้าวสวยของตนใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อตักข้าวใส่บาตรได้ครึ่งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เอามือปิดบาตรแสดงท่าว่าพอแล้ว เศรษฐีจึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าวสุกทั้งหมดนี้ไม่อาจแบ่งเป็น ๒ ส่วนได้ ขอท่านจงสงเคราะห์ให้ข้าพเจ้าได้ถวายโดยไม่ให้มีส่วนเหลือด้วยเถิด”
เมื่อเศรษฐีใส่บาตรด้วยข้าวสวยทั้งหมดแล้ว เขาได้ตั้งความปรารถนาว่า
“ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายข้าวสวยนี้ ขออย่าให้ข้าพเจ้าต้องประสบกับความอดอยากอีกเลยในทุกชาติที่เกิดมา และเมื่อใดที่ข้าพเจ้านั่งอยู่ที่ประตูฉางและแลดูเบื้องบนเท่านั้น ขอให้ฉางข้าวที่ว่างเปล่าของข้าพเจ้าจงเต็มไปด้วยข้าวสาลีแดงเพียงพอแจกชาวชมพูทวีปได้ทั้งสิ้น และขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมกับคนเหล่านี้ในทุกชาติที่เกิดมา ขอให้ภรรยาผู้นี้เป็นภรรยา ให้บุตรผู้นี้เป็นบุตร ให้สะใภ้ผู้นี้เป็นสะใภ้ และให้ทาสผู้นี้มาเป็นทาส ด้วยเถิด”
ฝ่ายภรรยาของเศรษฐีเห็นสามีถวายข้าวสวยจนหมด จึงได้นำส่วนของตนถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าบ้าง แล้วตั้งความปรารถนาว่า
“ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายข้าวสวยนี้ ขออย่าให้ดิฉันต้องประสบกับความอดอยากอีกเลยในทุกชาติที่เกิดมา และเมื่อใดที่ดิฉันแจกจ่ายภัตแก่ชาวชมพูทวีปอยู่ หากดิฉันยังไม่ลุกจากที่แจกภัตเพียงใดขอให้ภัตนั้นจงบริบูรณ์อยู่อย่างเดิมเพียงนั้น และขอให้ดิฉันได้อยู่ร่วมกับคนเหล่านี้ในทุกชาติที่เกิดมา ขอให้สามีผู้นี้เป็นสามี ให้บุตรผู้นี้เป็นบุตร ให้สะใภ้ผู้นี้เป็นสะใภ้ และให้ทาสผู้นี้มาเป็นทาส ด้วยเถิด”
ฝ่ายบุตรเศรษฐีเห็นบิดามารดาถวายข้าวสวยแล้ว จึงได้นำส่วนของตนถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าบ้าง แล้วตั้งความปรารถนาว่า
“ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายข้าวสวยนี้ ขออย่าให้ข้าพเจ้าต้องประสบกับความอดอยากอีกเลยในทุกชาติที่เกิดมา ขอให้ข้าพเจ้ามีทรัพย์แจกจ่ายแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น เมื่อใดที่ข้าพเจ้าถือถุงกหาปณะพันหนึ่งแจกจ่ายไป ขอให้ถุงนั้นยังเต็มไปด้วยกหาปณะอยู่อย่างเดิม และขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมกับคนเหล่านี้ในทุกชาติที่เกิดมา ขอให้บิดาผู้นี้เป็นบิดา ให้มารดาผู้นี้เป็นมารดา ให้ภริยาผู้นี้เป็นภริยา และให้ทาสผู้นี้มาเป็นทาส ด้วยเถิด”
ฝ่ายลูกสะใภ้เศรษฐีก็นำข้าวสวยส่วนของตน ถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน แล้วตั้งความปรารถนาว่า
“ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายข้าวสวยนี้ ขออย่าให้ดิฉันต้องประสบกับความอดอยากอีกเลยในทุกชาติที่เกิดมา ขอให้ดิฉันมีข้าวเปลือกแจกจ่ายแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น เมื่อใดที่ดิฉันตั้งกระบุงแจกข้าวเปลือกอยู่ ขอให้ข้าวเปลือกนั้นยังเต็มกระบุงอยู่เสมอ และขอให้ดิฉันได้อยู่ร่วมกับคนเหล่านี้ในทุกชาติที่เกิดมา ขอให้พ่อผัวผู้นี้เป็นพ่อผัว ให้แม่ผัวผู้นี้เป็นแม่ผัว ให้สามีผู้นี้เป็นสามี และให้ทาสผู้นี้มาเป็นทาส ด้วยเถิด”
แม้นายปุณณะผู้เป็นทาสก็ถวายข้าวสวย แล้วตั้งความปรารถนาว่า
"ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายข้าวสวยนี้ ขออย่าให้ข้าพเจ้าต้องประสบกับความอดอยากอีกเลยในทุกชาติที่เกิดมา ขอให้ได้คนใจบุญทั้งหลายเหล่านี้เป็นนาย และเมื่อใดที่ข้าพเจ้าไถนาอยู่ ขอให้รอยไถปรากฏเป็น ๗ รอย ขนาดเท่าเรือโกลน ตรงกลาง ๑ รอย ด้านซ้าย ๓ รอย และด้านขวา ๓ รอย ด้วยเถิด”
พระปัจเจกพุทธเจ้าฟังคำปรารถนาของคนเหล่านั้นแล้ว จึงกล่าวอนุโมทนาว่า “จงเป็นอย่างนั้นเถิด” แล้วเหาะกลับภูเขาคันธมาทน์ นำภัตที่บิณฑบาตได้ไปแบ่งให้พระปัจเจกพุทธเจ้าอื่นอีก ๕๐๐ องค์ ด้วยอานุภาพของพระปัจเจกพุทธเจ้า ภัตนั้นก็เพียงพอแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมด โดยเศรษฐีและบริวารมองเห็นอาการของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นโดยตลอด

รอดตายจากฉาตกภัย
เมื่อถวายทานเสร็จแล้ว ภรรยาเศรษฐีได้ล้างหม้อข้าวแล้วปิดไว้ ส่วนเศรษฐีนอนหลับไป ครั้นตื่นขึ้นเวลาเย็นเศรษฐีรู้สึกหิวมากบอกภรรยาว่า ฉันหิวเหลือเกิน มีข้าวตังก้นหม้อบ้างไหม
ภรรยารู้ว่าข้าวตังก้นหม้อไม่มีแล้วเพราะเป็นผู้ล้างหม้อด้วยตนเอง เธอไม่ตอบแต่ลุกขึ้นไปหยิบหม้อมาจะเปิดให้สามีดูด้วยตาตัวเอง แต่เมื่อเปิดฝาหม้อปรากฏว่ามีข้าวสวยอยู่เต็มหม้อ สีสวยดังดอกมะลิตูม ทั้งหมดจึงได้บริโภคข้าวสวยนั้น และไม่ว่าจะบริโภคไปมากมายเท่าไร ข้าสวยในหม้อนั้นก็ไม่พร่อง มีรอยเหมือนตักออกเพียงทัพพีเดียวเท่านั้น
และในวันเดียวกันนั้น ฉางที่ว่างเปล่าก็กลับเต็มไปด้วยข้าว เศรษฐีจึงให้ป่าวประกาศว่าใครต้องการข้าวเปลือกก็ให้มารับที่เรือนเศรษฐี ครั้งนั้นชาวชมพูทวีปจึงพ้นจากฉาตกภัยด้วยอาศัยเศรษฐีนั้นเอง
เศรษฐีทำบุญให้ทานแล้ว เมื่อทำกาละก็ไปบังเกิดในเทวโลก
          6. โฆสกเศรษฐี
            โฆสกเศรษฐีเป็นมหาเศรษฐีแห่งกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ
             มหาเศรษฐีผู้นี้มีชีวิตพลิกผันมาหลายชาติ
             ชาติปัจจุบันก็เฉียดตายหลายครั้งตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เพราะมีวิบากจากอกุศลกรรมเก่าตามมาส่งผล
             แต่ในที่สุดเมื่อวิบากจากกุศลกรรมส่งผลบ้าง เขาก็ได้เป็นมหาเศรษฐี
            และเป็นผู้สร้างโฆสิตารามถวายพระศาสดา


     โกตุหลิกทิ้งลูก
    โฆสกเศรษฐีมีชีวิตที่พลิกผันเพราะกรรมที่สร้างไว้ในอดีตชาติหนึ่ง สมัยที่เกิดเป็น โกตุหลิก
    โก ตุหลิกอยู่ในแคว้นอัลลกัปปะ มีภรรยาชื่อ กาลี เมื่อภรรยาคลอดลูกก็พอดีที่แคว้นอัลลกัปปะเกิด       ทุพภิกขภัย ข้าวปลาอาหารหายาก โกตุหลิกจึงตัดสินใจพาภรรยาและลูกน้อยเพิ่งคลอดเดินทางอพยพไปสู่กรุงโกสัมพี ระหว่างทางอาหารที่มีติดตัวมาเพียงน้อยนิดก็หมดลง โกตุหลิกบอกภรรยาว่าอาหารเราหมดแล้ว เราไม่อาจไปถึงโกสัมพีได้ เราจำเป็นต้องทิ้งลูก วันหน้าถึงโกสัมพีแล้วค่อยมีลูกกันใหม่ แต่นางกาลีไม่ยอม
    สองสามีภรรยาเดินทางต่อไป ผลัดกันอุ้มลูกน้อย คราวหนึ่งโกตุหลิกอุ้มลูกเดินตามหลังปล่อยให้นางกาลีเดินล่วงหน้าไปไกล เมื่อได้โอกาสจึงแอบวางลูกทิ้งไว้ใต้พุ่มไม้แห่งหนึ่ง นางกาลีหันกลับมาไม่เห็นลูกก็ร้องไห้คร่ำครวญ ให้โกตุหลิกเดินย้อนกลับไปรับลูก โกตุหลิกจำใจย้อนไปรับลูกเดินทางกันต่อไป แต่ด้วยหนทางที่กันดาร อาหารก็ไม่มี ในที่สุดทารกน้อยก็ตายในระหว่างทาง

    เกิดเป็นสุนัข
    โก ตุหลิกกับภรรยาเดินทางต่อไปจนถึงเรือนนายโคบาลคนหนึ่ง ทั้งสองแวะเข้าไปขออาหาร นายโคบาลเป็นคนใจบุญหุงข้าวปายาสไว้ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกวัน จึงแบ่งข้าวปายาสให้สองสามีภรรยากิน
    นางกาลีแบ่งข้าวปายาสส่วน ของตนให้สามี บอกว่าท่านอดข้าวมาหลายวันให้ท่านบริโภคให้เพียงพอก่อน โกตุหลิกจึงกินข้าวปายาสจำนวนมากให้สมกับที่อดอยากมาถึง ๗-๘ วัน กินไปก็มองดูนางสุนัขของนายโคบาลไป คิดว่าสุนัขตัวนี้มีบุญ ได้กินอาหารแบบนี้ทุกวันจนอ้วนพี ส่วนตนเองนานๆ จึงจะได้กินสักที
    ด้วย การบริโภคมากเกินไป ข้าวปายาสจึงไม่ย่อย คืนนั้นโกตุหลิกจึงทำกาละ และด้วยอกุศลจิตก่อนตายที่อิจฉาความเป็นอยู่ของสุนัข โกตุหลิกจึงไปเกิดในท้องนางสุนัขตัวนั้น ส่วนนางกาลีเมื่อสามีตายหมดที่พึ่งแล้ว จึงอยู่ทำงานในเรือนของนายโคบาลนั้นเอง วันใดได้ค่าแรงเป็นข้าวสาร นางก็จัดการหุงแล้วใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ถ้าวันไหนไม่มีข้าวนางก็ขวนขวายช่วยงานด้วยความเลื่อมใส

    จากสุนัขเป็นโฆสกเทพบุตร
    โก ตุหลิกเกิดเป็นสุนัข ได้รับก้อนข้าวจากพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นประจำจึงมีความเคารพรักในพระปัจเจก พุทธเจ้า เมื่อนายโคบาลไปสำนักพระปัจเจกพุทธเจ้าสุนัขนั้นก็ตามไปด้วย ได้เห็นนายโคบาลเอาไม้ตีพุ่มไม้ข้างทางเพื่อขับไล่สัตว์ร้ายให้หนีไป สุนัขก็จดจำไว้
    วันหนึ่ง นายโคบาลทูลพระปัจเจกพุทธเจ้าว่าหากวันใดไม่สามารถมานิมนต์พระปัจเจก พุทธเจ้าได้ด้วยตนเองก็จะส่งสุนัขตัวนี้มา ขอให้พระปัจเจกพุทธเจ้าพึงทราบด้วย หลังจากวันนั้น เมื่อนายโคบาลไม่ว่างก็จะใช้ให้สุนัขนั้นไปพาพระปัจเจกพุทธเจ้ามารับภัตที่ เรือน สุนัขนั้นก็จะไปที่หน้าที่พำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้า เห่า ๓ ครั้งให้รู้แล้วนอนหมอบรออยู่ เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าออกมาสุนัขก็จะเดินนำไปข้างหน้า ระหว่างทางสุนัขก็จะเที่ยวเห่าใส่สุมทุมพุ่มไม้และที่รกเพื่อขับไล่สัตว์ ร้ายตามแบบที่จำมาจากนายโคบาล บางครั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าแกล้งเดินผิดทาง สุนัขก็จะไปยืนขวางไว้ บางครั้งก็คาบชายผ้าดึงกลับมาให้ถูกทาง
    กาล เวลาผ่านไป วันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้ามาบอกนายโคบาลว่าจะย้ายไปอยู่ที่อื่น สุนัขนั้นอาลัยรักพระปัจเจกพุทธเจ้ามาก ยืนเห่าส่งพระปัจเจกพุทธเจ้าที่เหาะไป พอพระปัจเจกพุทธเจ้าลับไปจากสายตา สุนัขนั้นก็ดวงใจแตกดับ ไปเกิดเป็นเทพบุตรในเทวโลก มีนางอัปสรแวดล้อม ๑,๐๐๐ นาง เป็นเทพบุตรผู้มีเสียงดังมากเพราะอานิสงส์การเห่าไล่สัตว์ร้ายให้พระปัจเจก พุทธเจ้า นามว่า โฆสกเทพบุตร

    เกิดใหม่ในโกสัมพี
    โฆสก เทพบุตรเสวยสมบัติอยู่ในเทวโลกไม่นาน มัวแต่เพลินบริโภคกามคุณจนลืมเสพอาหารทิพย์ จึงจุติไปเกิดเป็นบุตรหญิงงามเมืองในกรุงโกสัมพี แต่การเป็นหญิงงามเมืองหากมีบุตรจะเลี้ยงไว้เฉพาะบุตรสาวเพื่อสืบทอดอาชีพ เมื่อคลอดบุตรเป็นชายนางจึงนำทารกน้อยใส่กระด้งไปทิ้งในกองหยากเยื่อ ด้วยอานิสงส์เคยดูแลไล่สัตว์ร้ายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ามาก่อน ทารกน้อยในกองหยากเยื่อจึงรอดพ้นอันตรายจากสัตว์ร้ายจนมีหญิงคนหนึ่งมาพบ เข้าและนำทารกกลับไปเรือน
    วันนั้น เศรษฐีชาวเมืองโกสัมพีคนหนึ่งเข้าไปในราชสำนัก ได้ยินปุโรหิตบอกว่าเด็กที่เกิดวันนี้เป็นผู้มีบุญมาก อนาคตจะได้เป็นมหาเศรษฐีของเมือง เศรษฐีจึงให้คนใช้กลับไปดูที่เรือนว่าภรรยาของตนซึ่งมีครรภ์แก่คลอดบุตรหรือ ยัง ปรากฏว่าภรรยายังไม่คลอด เศรษฐีจึงให้หญิงคนใช้อีกคนชื่อ กาลี ไปตามหาทารกชายที่เกิดวันนี้ให้พบ พบแล้วให้ใช้ทรัพย์พันหนึ่งแลกทารกนั้นกลับมา ซึ่งนางกาลีก็สามารถหาทารกน้อยนั้นจบพบและพากลับมาให้เศรษฐี
    เศรษฐี เลี้ยงดูทารกนั้นไว้ คิดว่าถ้าลูกของตนเป็นลูกสาว ก็จะให้แต่งงานกับเด็กคนนี้ที่จะได้เป็นมหาเศรษฐี แต่ถ้าเป็นชาย เศรษฐีก็จะฆ่าเด็กนี้ทิ้งเสียเพื่อให้ลูกชายตนเองครองตำแหน่งมหาเศรษฐีแทน

    ถูกทิ้งถูกฆ่าซ้ำแล้วซ้ำอีก
    ต่อมาภรรยาเศรษฐีคลอดบุตรเป็นชาย เศรษฐีจึงคิดจะฆ่าทารกที่เลี้ยงไว้
    เศรษฐี สั่งให้นางกาลีนำทารกไปวางขวางกลางประตูคอกโค หวังจะให้แม่โคเหยียบให้ตายตอนนายโคบาลปล่อยโคออกจากคอก แต่โคนายฝูงออกมายืนคร่อมทารกไว้ไม่ให้ทารกถูกแม่โคตัวอื่นเหยียบ นายโคบาลสังเกตเห็นผิดปกติที่โคนายฝูงปกติจะออกจากคอกหลังสุด แต่วันนี้กลับออกจากคอกก่อน แถมยังยืนนิ่งขวางทางอยู่จึงเดินไปดู เมื่อเห็นทารกนอนอยู่ก็เกิดความรักนำกลับไปเลี้ยงดู เศรษฐีรู้ว่านายโคบาลนำทารกไปเลี้ยงจึงให้นางกาลีไปไถ่ตัวกลับมาด้วยทรัพย์ พันหนึ่ง
    เศรษฐีสั่งให้นางกาลีนำทารกไปวางขวางทางขบวนเกวียน ๕๐๐ เล่มที่พ่อค้าขับไปค้าขายแต่เช้ามืด แต่โคนำขบวนกลับหยุดขวางทางไว้ไม่ยอมลากเกวียนไปต่อ หัวหน้าขบวนเกวียนรอจนฟ้าสว่างจึงเห็นว่ามีทารกนอนอยู่ เขาจึงนำทารกกลับไปเลี้ยง แต่เศรษฐีก็ให้นางกาลีไปขอไถ่ตัวกลับมาอีกด้วยทรัพย์พันหนึ่ง
    เศรษฐี สั่งให้นางกาลีนำทารกไปทิ้งที่ป่าช้าผีดิบ หวังจะให้ทารกถูกสุนัขป่าหรืออมนุษย์ฆ่าให้ตาย ครั้งนั้นนายอชบาลต้อนฝูงแพะหลายแสนตัวผ่านมา แม่แพะตัวหนึ่งหยุดให้นมทารก นายอชบาลเห็นจึงนำทารกกลับไปเลี้ยง เศรษฐีรู้จึงให้นางกาลีไปขอไถ่ตัวกลับมาอีกด้วยทรัพย์พันหนึ่ง
    เศรษฐี สั่งให้นางกาลีนำทารกไปทิ้งที่เหวทิ้งโจร แต่ทารกก็ปลอดภัยเพราะตกลงบนพุ่มไม้ไผ่ หัวหน้าช่างจักสานมาตัดไม้ไผ่พบเข้าจึงพากลับไปเลี้ยง เศรษฐีรู้จึงให้นางกาลีไปขอไถ่ตัวกลับมาอีกด้วยทรัพย์พันหนึ่ง
    เศรษฐีพยายามฆ่าเด็กหลายครั้งแต่ไม่ตาย จึงจำต้องเลี้ยงไว้จนเติบใหญ่ มีชื่อว่า โฆสกะ

    ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว
    เศรษฐี จำใจเลี้ยงโฆสกะไว้เป็นหนามยอกอก ในใจไม่เคยล้มเลิกความคิดที่จะฆ่าโฆสกะเลย วันหนึ่งเศรษฐีแอบไปว่าจ้างช่างหม้อคนหนึ่งบอกว่าจะส่งบุตรชาติชั่วมาให้ฆ่า ให้ช่างหม้อจัดการหั่นให้เป็นท่อน แล้วใส่เตาเผาให้หมดอย่าให้เหลือซาก ช่างหม้อเห็นแก่เงินจึงรับจะจัดการให้
    วันรุ่งขึ้น เศรษฐีสั่งให้โฆสกะไปเรือนช่างหม้อ บอกช่างหม้อว่าให้เร่งทำงานที่เศรษฐีสั่งไว้ให้เสร็จเร็วๆ โฆสกะก็ไปเพราะไม่รู้ ระหว่างทางพบลูกชายเศรษฐีกำลังเล่นพนันอยู่กับเพื่อนๆ แต่ลูกชายเศรษฐีแพ้พนันไปแล้วหลายครั้งจึงขอร้องให้โฆสกะช่วยเล่นแทน ส่วนตัวเขาอาสาไปหาช่างหม้อแทน วันนั้นโฆสกะจึงได้อยู่เล่นสนุกตลอดทั้งวัน
    ตก เย็นโฆสกะเลิกเล่นกลับเข้าเรือน เศรษฐีพอเห็นโฆสกะก็ตกใจ สอบถามรู้ว่าบุตรชายของตนไปแทนโฆสกะจึงรีบวิ่งไปเรือนช่างหม้อ แต่ก็สายเกินไปเสียแล้ว เพราะบุตรชายของตนถูกฆ่าและเผาแล้วไม่มีเหลือ

    โฆสกะแต่งงาน
    เศรษฐี แค้นโฆสกะมากยิ่งขึ้นครุ่นคิดหาวิธีจะฆ่าโฆสกะให้ได้ จึงออกอุบายให้โฆสกะไปส่งจดหมายให้คนเก็บส่วยในชนบท โฆสกะบอกว่าตนยังไม่ได้กินข้าวเลย เศรษฐีบอกว่าระหว่างทางในชนบทมีเรือนของคามิกเศรษฐีซึ่งเป็นเพื่อนกัน ให้โฆสกะแวะกินข้าวที่เรือนนั้น โฆสกะไม่รู้หนังสือจึงเอาจดหมายผูกชายผ้าเดินทางไป
    เมื่อเดิน ทางถึงเรือนคามิกเศรษฐี โฆสกะจึงแวะเข้าไปหาภรรยาคามิกเศรษฐีแนะนำตัวเองว่าชื่อโฆสกะเป็นบุตรของ เศรษฐีในเมืองชื่อโฆสกะ ภรรยาเศรษฐีรู้สึกเมตตาจึงจัดข้าวปลาอาหารให้กิน และให้นางทาสีพาโฆสกะไปนอนพักผ่อน
    นางทาสีคนนั้นเป็นทาสีของ ธิดาเศรษฐี เมื่อนางจัดเตรียมที่นอนให้โฆสกะเรียบร้อยแล้วจึงไปรับใช้ธิดาเศรษฐีตามปกติ ธิดาเศรษฐีถามว่าทำไมวันนี้นางทาสีจึงมาช้านัก นางทาสีบอกว่านายหญิงให้ไปจัดที่นอนให้แขกคนหนึ่งเป็นชายหนุ่มรูปหล่อชื่อ โฆสกะ
    พอธิดาเศรษฐีได้ยินชื่อ โฆสกะ นางก็บังเกิดความรักเฉือนเข้าไปถึงกระดูก เพราะธิดาเศรษฐีนี้คือนางกาลีอดีตภรรยาโฆสกะเมื่อครั้งที่เป็นนายโกตุหลิก นั่นเอง ความรักของนางเกิดขึ้นแล้วเพราะเหตุเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน
    ธิดา เศรษฐีแอบไปดูโฆสกะที่นอนหลับอยู่ และหยิบหนังสือที่ชายผ้าเปิดอ่าน ในหนังสือนั้นบอกให้นายส่วยฆ่าโฆสกะทันทีที่ไปถึง ธิดาคามิกเศรษฐีพอรู้ว่าโฆสกะถูกหลอกไปฆ่าจึงคิดวิธีช่วยเหลือ จัดการแปลงสารด้วยข้อความใหม่
    “ลูกชายของเราคนนี้ชื่อ โฆสกะ ท่านจงทำธุระให้เขาทำการมงคลกับธิดาคามิกเศรษฐีด้วยบรรณาการจากบ้านส่วย ๑๐๐ บ้าน ปลูกเรือน ๒ ชั้นให้เป็นที่อยู่ สร้างรั้วให้แข็งแรงและจัดเวรยามดูแลให้ดี แล้วส่งข่าวกลับไปบอกด้วยว่าท่านทำการเสร็จแล้ว เราจักสมนาคุณท่านในภายหลัง”
    เมื่อแปลงสารเสร็จแล้ว ธิดาเศรษฐีก็พับจดหมายคืนที่เดิม
    วัน รุ่งขึ้น โฆสกะเดินทางต่อจนถึงเรือนของนายส่วย เมื่อได้อ่านจดหมายแล้ว นายส่วยจึงจัดงานอาวาหมงคลให้โฆสกะกับธิดาคามิกเศรษฐี แล้วส่งข่าวให้เศรษฐีโกสัมพีทราบว่างานที่สั่งให้ทำสำเร็จแล้ว

    เศรษฐีล้มป่วยเพราะความแค้น
    เศรษฐี อ่านจดหมายนายส่วยจบก็เสียใจและแค้นใจ บุตรชายตัวเองหวังจะให้เป็นมหาเศรษฐีก็มาตาย ส่วนโฆสกะพยายามฆ่ามาหลายครั้งไม่เคยสำเร็จ ด้วยความแค้นและความเสียใจสุมเต็มอกเศรษฐีจึงล้มป่วยลงด้วยโรคลงแดง
    เศรษฐี ตั้งใจว่าจะไม่ยอมยกสมบัติของตัวเองให้โฆสกะอย่างเด็ดขาด จึงส่งคนรับใช้ให้ไปตามโฆสกะมาหา แต่ภรรยาโฆสกะคอยดักไว้ไม่ให้พบ นางถามถึงอาการเศรษฐีว่าเป็นอย่างไรบ้าง คนรับใช้บอกว่ายังมีกำลังดีอยู่ นางจึงจัดที่พักให้บอกว่าให้อยู่ที่นี่ก่อนอย่าเพิ่งกลับ
    เศรษฐีส่งคนรับใช้ไปอีก ภรรยาโฆสกะก็จัดที่พักให้เหมือนคนก่อน
    จน ถึงคนรับใช้คนที่สามมาบอกว่าเศรษฐีอาการเพียบหนักใกล้ตายแล้ว ภรรยาโฆสกะจึงบอกให้สามีเตรียมบรรณาการจากบ้านส่วย ๑๐๐ บ้าน ใส่เกวียนไปเยี่ยมเศรษฐี
    เมื่อไปถึงเรือนเศรษฐี ภรรยาบอกให้โฆสกะไปยืนทางปลายเท้า ส่วนนางยืนทางด้านศีรษะ เศรษฐีเห็นโฆสกะมาแล้วจึงเรียกเสมียนมาถามว่า ในเรือนของฉันมีทรัพย์อยู่เท่าไร นายเสมียนตอบว่ามีทรัพย์อยู่ ๔๐ โกฏิ และเครื่องอุปโภคบริโภคบ้าน นา สัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า ยานพาหนะ มีอีกจำนวนหนึ่ง
    เศรษฐีจะประกาศว่า
    “ฉันไม่ให้ทรัพย์แก่โฆสกะ”
    แต่ด้วยอาการไข้หนักเศรษฐีกลับพูดผิดว่า
    “ฉันให้..”
    ภรรยา โฆสกะที่รอท่าอยู่พอได้ยินเศรษฐีพูดเพียงเท่านี้ นางเกรงว่าเศรษฐีจะพูดคำอื่นอีกจึงแสร้งทำเป็นเศร้าโศก โถมศีรษะลงกลิ้งเกลือกบนอกเศรษฐี แสดงอาการร้องไห้คร่ำครวญจนเศรษฐีไม่อาจพูดได้อีก แล้วเศรษฐีก็ขาดใจตาย

    เป็นโฆสกะเศรษฐี
    เมื่อ พระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพีทรงทราบว่าเศรษฐีถึงแก่อนิจกรรมแล้ว จึงรับสั่งให้โฆสกะไปเข้าเฝ้า พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้สืบต่อจากบิดา โฆสกะรับตำแหน่งเศรษฐีแล้วจึงขึ้นรถแห่ประทักษิณพระนครแล้วกลับมาเรือน
    ภรรยา โฆสกเศรษฐีเล่าให้นางกาลีฟังว่า เพราะนางแอบแปลงจดหมาย วันนี้โฆสกะจึงได้ตำแหน่งเศรษฐี นางกาลีก็เล่าให้นางฟังบ้างว่าเศรษฐีพยายามฆ่าโฆสกะมาแล้วหลายครั้งตั้งแต่ ยังเป็นทารก ใช้ทรัพย์ไปมากมายแต่ก็ไม่สามารถฆ่าโฆสกะได้ พอรู้ดังนั้นแล้วภรรยาโฆสกะจึงหัวเราะ
    โฆสกเศรษฐีเข้าเรือนมา เห็นภรรยาหัวเราะจึงถามว่าหัวเราะอะไร ภรรยาไม่ยอมบอก โฆสกเศรษฐีชักดาบขู่ว่าถ้าไม่บอกเราจะฟันให้ขาดเป็น ๒ ท่อน ภรรยาจึงบอกว่า สมบัติทั้งหลายนี้ท่านได้มาเพราะดิฉัน
    แล้วภรรยาก็เล่าเรื่อง ราวให้สามีฟัง โฆสกเศรษฐีไม่เชื่อ ภรรยาจึงให้นางกาลีมายืนยันอีกคน ฟังแล้วโฆสกเศรษฐีจึงคิดว่า เราทำกรรมหนักไว้หนอจึงได้ผลเช่นนี้ ต่อไปเราจะไม่เป็นผู้ประมาทอีก
    คิดดังนั้นแล้ว เศรษฐีจึงให้ตั้งโรงทาน สละทรัพย์วันละพันเพื่อสงเคราะห์คนเดินทางไกลและคนกำพร้า มอบหมายให้ นายมิตตะ เป็นผู้ดูแลโรงทาน อีกทั้งยังถวายภัตแด่พระดาบส ๕๐๐ รูป ในป่าหิมพานต์ใกล้กรุงโกสัมพีเป็นประจำ

         7.  อ. เรื่องแห่งนายพรานชื่อว่ากุกกุฏมิตร (มยา) อันข้าพเจ้า (วุจฺจเต) จะกล่าว ฯ

" ปาณิมฺหิ  เจ  วโณ  นาสฺสาติ  อิมํ  ธมฺมเทสนํ  สตฺถา  เวฬุวเน  วิหรนฺโต  กุกฺกุฏมิตฺตนฺนาม  เนสาทํ  อารพฺภ  กเถสิ . 
สตฺถา  อ. พระศาสดา  วิหรนฺโต  เมื่อประทับอยู่  เวฬุวเน  ในพระวิหารชื่อว่าเวฬุวัน  อารพฺภ ทรงปรารภ  เนสาทํ  ซึ่งนายพราน  กุกฺกุฏมิตฺตํ  นาม  ชื่อว่ากุกกุฏมิตร  กเถสิ  ตรัสแล้ว ธมฺมเทสนํ  ซึ่งพระธรรมเทศนา  อิมํ  นี้  ว่า  " ปาณิมฺหิ  เจ  วโณ  นาสฺส  อิติ  ดังนี้เป็นต้น ฯ 
อ. พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่  ในพระวิหารชื่อว่าเวฬุวัน  ทรงปรารภ  ซึ่งนายพราน  ชื่อว่ากุกกุฏมิตร  ตรัสแล้ว ซึ่งพระธรรมเทศนา นี้  ว่า  " ปาณิมฺหิ  เจ  วโณ  นาสฺส  ดังนี้เป็นต้น ฯ 
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภนายพรานชื่อกุกกุฎมิตร  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  " ปาณิมฺหิ  เจ  วโณ  นาสฺส  " เป็นต้น . 

ราชคเห  กิเรกา  เสฏฺฐิธีตา  วยปฺปตฺตา  สตฺตภูมิกสฺส  ปาสาทสฺส  อุปริคพฺเภ  อารกฺขณตฺถาย  เอกํ  ปริจาริกํ  ทตฺวา  มาตาปิตูหิ  วาสิยมานา 
กิร  ได้ยินว่า  เสฏฺฐิธีตา  อ. ธิดาของเศรษฐี  เอกา  คนหนึ่ง  ราชคเห  ในพระนครชื่อว่าราชคฤห์  วยปฺปตฺตา  ผู้ถึงแล้วซึ่งวัย  สตฺตภูมิกสฺส  ปาสาทสฺส  อุปริคพฺเภ  อารกฺขณตฺถาย  เอกํ  ปริจาริกํ  ทตฺวา  มาตาปิตูหิ  วาสิยมานา  ผู้อันมารดาและบิดา ท.  ให้  ซึ่งหญิงรับใช้  คนหนึ่ง  เพื่อประโยชน์แก่การอารักขา  แล้วจึงให้อยู่อยู่  ในเบื้องบนแห่งห้อง  แห่งปราสาท  อันประกอบแล้วด้วยชั้นเจ็ด 
ได้ยินว่า  อ. ธิดาของเศรษฐี  คนหนึ่ง  ในพระนครชื่อว่าราชคฤห์  ผู้ถึงแล้วซึ่งวัย  ผู้อันมารดาและบิดา ท.  ให้  ซึ่งหญิงรับใช้  คนหนึ่ง  เพื่อประโยชน์แก่การอารักขา  แล้วจึงให้อยู่อยู่  ในเบื้องบนแห่งห้อง  แห่งปราสาท  อันประกอบแล้วด้วยชั้นเจ็ด 
ได้ยินว่า  ธิดาเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์  เจริญวัยแล้ว  เพื่อประโยชน์แก่การรักษา  มารดาบิดาจึงมอบหญิงคนใช้ให้คนหนึ่ง  ให้อยู่ในห้องบนปราสาท ๗ ชั้น 

เอกทิวสํ  สายณฺหสมเย  วาตปาเนน  อนฺตรวีถึ  โอโลเกนฺตี  ปญฺจ  ปาสสตานิ  ปญฺจ  จ  สูลสตานิ  อาทาย  มิเค  วธิตฺวา  ชีวมานํ  เอกํ  กุกฺกุฏมิตฺตํ  นาม  เนสาทํ  ปญฺจ  มิคสตานิ  วธิตฺวา  เตสํ  มํเสน  มหาสกฏํ  ปูเรตฺวา  สกฏธูเร  นิสีทิตฺวา  มํสํ  วิกฺกีณนตฺถาย  นครํ  ปวิสนฺตํ  ทิสฺวา 
โอโลเกนฺตี  แลดูอยู่  อนฺตรวีถึ  ซึ่งระหว่าง  แห่งถนน  วาตปาเนน  โดยช่องเป็นที่ดื่มกินซึ่งลม  สายณฺหสมเย  ในสมัยเป็นที่สิ้นไปแห่งวัน  เอกทิวสํ  ในวันหนึ่ง  ทิสฺวา  เห็นแล้ว  เนสาทํ ซึ่งนายพราน  เอกํ  คนหนึ่ง  กุกฺกุฏมิตฺตํ  นาม  ชื่อว่ากุกกุฏมิตร  ปญฺจ  ปาสสตานิ  (จ)  ปญฺจ  สูลสตานิ  จ  อาทาย  มิเค  วธิตฺวา  ชีวมานํ  ผู้ถือเอา  ซึ่งร้อยแห่งบ่วง ท.  ห้า  ด้วย  ซึ่งร้อย  แห่งหลาว ท.  ห้า  ด้วย  แล้วจึงฆ่า  ซึ่งเนื้อ ท.  แล้วจึงเป็นอยู่อยู่  ปญฺจ  มิคสตานิ  วธิตฺวา  เตสํ  (มิคานํ)  มํเสน  มหาสกฏํ  ปูเรตฺวา  สกฏธูเร  นิสีทิตฺวา  มํสํ  วิกฺกีณนตฺถาย  นครํ  ปวิสนฺตํ  ผู้ฆ่า  ซึ่งร้อยแห่งเนื้อ ท.  ห้า  แล้วจึงยังเกวียนใหญ่  ให้เต็ม  ด้วยเนื้อ  ของเนื้อ ท.  เหล่านั้น  แล้วจึงนั่ง  บนแอกแห่งเกวียน  แล้วจึง  เข้าไปอยู่  สู่พระนคร  เพื่อประโยชน์แก่การขาย  ซึ่งเนื้อ 
แลดูอยู่  ซึ่งระหว่าง  แห่งถนน  โดยช่องเป็นที่ดื่มกินซึ่งลม  ในสมัยเป็นที่สิ้นไปแห่งวัน  ในวันหนึ่ง  เห็นแล้ว  ซึ่งนายพราน  คนหนึ่ง  ชื่อว่ากุกกุฏมิตร  ผู้ถือเอา  ซึ่งร้อยแห่งบ่วง ท.  ห้า  ด้วย  ซึ่งร้อย  แห่งหลาว ท.  ห้า  ด้วย  แล้วจึงฆ่า  ซึ่งเนื้อ ท.  แล้วจึงเป็นอยู่อยู่  ผู้ฆ่า  ซึ่งร้อยแห่งเนื้อ ท.  ห้า  แล้วจึงยังเกวียนใหญ่  ให้เต็ม  ด้วยเนื้อ  ของเนื้อ ท.  เหล่านั้น  แล้วจึงนั่ง  บนแอกแห่งเกวียน  แล้วจึง  เข้าไปอยู่  สู่พระนคร  เพื่อประโยชน์แก่การขาย  ซึ่งเนื้อ 
ในเวลาเย็นวันหนึ่ง  แลไปในระหว่าง  ถนน  ทางหน้าต่าง  เห็นนายพรานคนหนึ่งชื่อกุกกุฎมิตร  ผู้ถือบ่วง  ๕๐๐  และหลาว  ๕๐๐  ฆ่าเนื้อทั้งหลายเลี้ยงชีพ  ฆ่าเนื้อ  ๕๐๐  ตัวแล้ว  บรรทุกเกวียนใหญ่ให้เต็มไปด้วยเนื้อสัตว์เหล่านั้น  นั่งบนแอกเกวียน  เข้าไปสู่พระนครเพื่อต้องการจะขายเนื้อ 

ตสฺมึ  ปฏิพทฺธจิตฺตา  หุตฺวา  ปริจาริกาย  หตฺเถ  ปณฺณาการํ  ทตฺวา  " คจฺฉ ,  เอตสฺส  ปณฺณาการํ  ทตฺวา  คมนกาลํ  ญตฺวา  เอหีติ  เปเสสิ . 
ตสฺมึ  (เนสาเท)  ปฏิพทฺธจิตฺตา  เป็นผู้มีจิตเนื่องเฉพาะแล้ว  ในนายพรานนั้น  หุตฺวา  เป็น ทตฺวา  ให้แล้ว  ปณฺณาการํ  ซึ่งบรรณาการ  หตฺเถ  ในมือ  ปริจาริกาย  ของหญิงผู้รับใช้  เปเสสิ  ส่งไปแล้ว  (วจเนน)  ด้วยคำว่า  " (ตฺวํ)  อ. เจ้า  คจฺฉ  จงไป ,  (ตฺวํ)  อ. เจ้า  ทตฺวา ให้แล้ว  ปณฺณาการํ  ซึ่งบรรณาการ  เอตสฺส  (เนสาทสฺส)  แก่นายพราน  นั่น  ญตฺวา  รู้แล้ว คมนกาลํ  ซึ่งกาลเป็นที่ไป  เอหิ  จงมา  อิติ  ดังนี้ ฯ 
เป็นผู้มีจิตเนื่องเฉพาะแล้ว  ในนายพรานนั้น  เป็น  ให้แล้ว  ซึ่งบรรณาการ  ในมือ  ของหญิงผู้รับใช้  ส่งไปแล้ว  ด้วยคำว่า  " อ. เจ้า  จงไป ,  อ. เจ้า  ให้แล้ว  ซึ่งบรรณาการ  แก่นายพราน  นั่น  รู้แล้ว  ซึ่งกาลเป็นที่ไป  จงมา  ดังนี้ ฯ 
เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในนายพราน  นั้น  ให้บรรณการในมือหญิงคนใช้  ส่งไปว่า  " เจ้าจงไป ,  จงให้  บรรณการแก่บุรุษนั้น  รู้เวลาไป  (ของเขา)  แล้วจงมา . " 

สา  คนฺตฺวา  ตสฺส  ปณฺณาการํ  ทตฺวา  ปุจฺฉิ  " กทา  คมิสฺสสีติ . 
สา (ปริจาริกา)  อ. หญิงผู้รับใช้  นั้น  คนฺตฺวา  ไปแล้ว  ทตฺวา  ให้แล้ว  ปณฺณาการํ  ซึ่งบรรณาการ  ตสฺส  (เนสาทสฺส)  แก่นายพราน  นั้น  ปุจฺฉิ  ถามแล้วว่า  “ (ตฺวํ)  อ. ท่าน คมิสฺสสิ  จักไป  กทา  ในกาลไร  อิติ  ดังนี้ ฯ 
อ. หญิงผู้รับใช้  นั้น  ไปแล้ว  ให้แล้ว  ซึ่งบรรณาการ  แก่นายพราน  นั้น  ถามแล้วว่า  “ อ. ท่าน  จักไป  ในกาลไร  ดังนี้ ฯ 
หญิงคนใช้ไปแล้ว  ให้บรรณการแก่นายพรานนั้นแล้ว  ถามว่า  " ท่านจักไปเมื่อไร ? " 

" อชฺช  มํสํ  วิกฺกีณิตฺวา  ปาโตว  อสุกทฺวาเรน  นาม  นิกฺขมิตฺวา  คมิสฺสามีติ . 
(เนสาโท)  อ. นายพราน  (อาห)  กล่าวแล้วว่า  “ อชฺช  ในวันนี้  (อหํ)  อ. เรา  วิกฺกีณิตฺวา ขายแล้ว  มํสํ  ซึ่งเนื้อ  นิกฺขมิตฺวา  ออกไปแล้ว  อสุกทฺวาเรน  นาม  ชื่อ  โดยประตูโน้น  คมิสฺสามิ  จักไป  ปาโต  ว  แต่เช้าเทียว  อิติ  ดังนี้ ฯ 
อ. นายพราน  กล่าวแล้วว่า  “ ในวันนี้  อ. เรา  ขายแล้ว  ซึ่งเนื้อ  ออกไปแล้ว  ชื่อ  โดยประตูโน้น  จักไป  แต่เช้าเทียว  ดังนี้ ฯ 
นายพรานตอบว่า  " วันนี้เราขายเนื้อแล้ว  จักออกไปโดยประตูชื่อโน้นแต่เช้าเทียว . " 

สา  เตน  กถิตํ  กถํ  สุตฺวา  อาคนฺตฺวา  ตสฺสา  อาโรเจสิ . 
สา  (ปริจาริกา)  อ. หญิงผู้รับใช้  นั้น  สุตฺวา  ฟังแล้ว  กถํ  ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าว  เตน  (เนสาเทน)  กถิตํ  อันอันนายพรานนั้นกล่าวแล้ว  อาคนฺตฺวา  มาแล้ว  อาโรเจสิ  บอกแจ้งแล้ว  ตสฺสา  (เสฏฺฐิธีตุยา)  แก่ธิดาของเศรษฐี  นั้น ฯ 
อ. หญิงผู้รับใช้  นั้น  ฟังแล้ว  ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าว  อันอันนายพรานนั้นกล่าวแล้ว  มาแล้ว  บอกแจ้งแล้ว  แก่ธิดาของเศรษฐี  นั้น ฯ 
หญิงคนใช้ฟังคำที่นายพรานนั้น  บอกแล้ว  กลับมาบอกแก่นาง . 

เสฏฺฐิธีตา  อตฺตนา  คเหตพฺพยุตฺตกํ  วตฺถาภรณชาตํ  สํวิทหิตฺวา  ปาโตว  มลินวตฺถํ  นิวาเสตฺวา  กุฏํ  อาทาย  ทาสีหิ  สทฺธึ  อุทกติตฺถํ  คจฺฉนฺตี  วิย  นิกฺขมิตฺวา 
เสฏฺฐิธีตา  อ. ธิดาของเศรษฐี  สํวิทหิตฺวา  จัดแจงแล้ว  วตฺถาภรณชาตํ  ซึ่งผ้าและเครื่องประดับ  อตฺตนา  คเหตพฺพยุตฺตกํ  อันควรแล้ว  แก่ความเป็นแห่งวัตถุอันตนพึงถือเอา  นิวาเสตฺวา  นุ่งแล้ว  มลินวตฺถํ  ซึ่งผ้าอันเศร้าหมอง  อาทาย  ถือเอาแล้ว  กุฏํ  ซึ่งหม้อ  ทาสีหิ  สทฺธึ  อุทกติตฺถํ  คจฺฉนฺตี  วิย  เป็นผู้ราวกะว่า  ไปอยู่  สู่ท่าแห่งน้ำ  กับ  ด้วยทาสี ท.  (หุตฺวา)  เป็น  นิกฺขมิตฺวา  ออกไปแล้ว  ปาโต  ว  แต่เช้าเทียว 
อ. ธิดาของเศรษฐี  จัดแจงแล้ว  ซึ่งผ้าและเครื่องประดับ  อันควรแล้ว  แก่ความเป็นแห่งวัตถุอันตนพึงถือเอา  นุ่งแล้ว  ซึ่งผ้าอันเศร้าหมอง  ถือเอาแล้ว  ซึ่งหม้อ  เป็นผู้ราวกะว่า  ไปอยู่  สู่ท่าแห่งน้ำ  กับ  ด้วยทาสี ท.  เป็น  ออกไปแล้ว  แต่เช้าเทียว 
ธิดาเศรษฐีรวบรวมผ้าและอาภรณ์อันควรแก่ความที่เป็นของตน  ควรถือเอา  นุ่งผ้าเก่า  ถือหม้อออกไปแต่เช้าตรู่เหมือนไปสู่ท่าน้ำกับ  พวกนางทาสี 

ตํ  ฐานํ  คนฺตฺวา  ตสฺสาคมนํ  โอโลเกนฺตี  อฏฺฐาสิ .  โสปิ  ปาโตว  สกฏํ  ปาเชนฺโต  นิกฺขมิ . 
คนฺตฺวา  ไปแล้ว  ฐานํ  สู่ที่  ตํ  นั้น  โอโลเกนฺตี  อฏฺฐาสิ  ได้ยืนแลดูอยู่แล้ว  อาคมนํ  ซึ่งการมา  ตสฺส  (เนสาทสฺส)  แห่งนายพราน  นั้น ฯ  โสปิ  (เนสาโท)  อ. นายพราน  แม้นั้น  ปาเชนฺโต  ขับไปอยู่  สกฏํ  ซึ่งเกวียน  นิกฺขมิ  ออกไปแล้ว  ปาโต  ว  แต่เช้าเทียว ฯ 
ไปแล้ว  สู่ที่  นั้น  ได้ยืนแลดูอยู่แล้ว  ซึ่งการมา  แห่งนายพราน  นั้น ฯ  อ. นายพราน  แม้นั้น  ขับไปอยู่  ซึ่งเกวียน  ออกไปแล้ว  แต่เช้าเทียว ฯ 
ถึงที่นั้นแล้วได้ยืนคอยการมาของนายพรานอยู่ .  แม้นาย  พรานก็ขับเกวียนออกไปแต่เช้าตรู่ . 

สาปิ  ตสฺส  ปจฺฉโต  ปายาสิ .  โส  ตํ  ทิสฺวา 
สาปิ  (เสฏฺฐิธีตา)  อ. ธิดาของเศรษฐี  แม้นั้น  ปายาสิ  ได้ดำเนินไปแล้ว  ปจฺฉโต  ข้างหลัง ตสฺส  (เนสาทสฺส)  ของนายพราน  นั้น ฯ  โส  (เนสาโท)  อ. นายพราน  นั้น  ทิสฺวา  เห็นแล้ว  ตํ  (เสฏฺฐิธีตรํ)  ซึ่งธิดาของเศรษฐี  นั้น  อาห  กล่าวแล้วว่า
อ. ธิดาของเศรษฐี  แม้นั้น  ได้ดำเนินไปแล้ว  ข้างหลัง  ของนายพราน  นั้น ฯ  อ. นายพราน  นั้น  เห็นแล้ว  ซึ่งธิดาของเศรษฐี  นั้น  กล่าวแล้วว่า
ฝ่ายนางก็เดินตามหลังนายพรานนั้นไป .  เขาเห็นนางจึงพูดว่า 

" อหํ  ตํ  ` อสุกสฺส  นาม  ธีตาติ  น  ชานามิ ,  มา  มํ  อนุพนฺธิ  อมฺมาติ  อาห . 
“ อหํ  อ. เรา  น  ชานามิ  ย่อมไม่รู้  ตํ  ซึ่งเธอ  ว่า  ' (ตฺวํ)  อ. เธอ  อสุกสฺส  นาม  (กุลสฺส)  ธีตา  เป็น  ธิดา  ของตระกูล  ชื่อโน้น  (อสิ)  ย่อมเป็น  อิติ  ดังนี้  อมฺม  ดูก่อนเม่  (ตฺวํ )  อ. เธอ  มา  มํ  อนุพนฺธิ  อย่าติดตามแล้ว  ซึ่งเรา  อิติ  ดังนี้ ฯ 
“ อ. เรา  ย่อมไม่รู้  ซึ่งเธอ  ว่า  ' อ. เธอ  เป็น  ธิดา  ของตระกูล  ชื่อโน้น  ย่อมเป็น  ดังนี้  ดูก่อนเม่  อ. เธอ  อย่าติดตามแล้ว  ซึ่งเรา  ดังนี้ ฯ 
" ข้าพเจ้าไม่รู้จักเจ้าว่า  ' เป็นธิดาของผู้ชื่อ  โน้น , '  แน่แม่  เจ้าอย่าตามฉันไปเลย . "
           

        8.นางวิสาขา เป็นอุบาสิกาที่ประเสริฐผู้หนึ่งหาบุคคลเทียบได้ยาก นางเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับอุบาสิกาตราบจนถึงบัดนี้ ประวัติของนางมหาอุบาสิกาผู้นี้ มีเนื้อเรื่องอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถามากมาย ดังความย่อว่า 


๐ บุพกรรมของมหาอุบาสิกาวิสาขา

ดังได้สดับมา นางวิสาขานั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปุทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี

ต่อมา กำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ยินดีในการถวายทาน จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น

นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป

ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ก็ถือปฏิสนธิในพระราชมณเฑียรของพระเจ้ากาสี พระนามว่า กิงกิ กรุงพาราณสี เป็นพระราชธิดาองค์หนึ่ง ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ คือ นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกขุนี (ภิกขุณี) นางภิกขุทาสิกา นางธัมมา (ธรรมา) นางสุธัมมา (สุธรรมา) และนางสังฆทาสี ครบ ๗

พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาลชาติปัจจุบัน] คือพระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระนางกุณฑลเกสีเถรี (พระภัททากุณฑลเกสาเถรี) พระกิสาโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี และนางวิสาขา ครบ ๗

บรรดาพระราชธิดาเหล่านั้น พระนางสังฆทาสีเวียนว่ายอยู่ใน เทวดาและมนุษย์ถึงพุทธันดรหนึ่ง


๐ ปัจจุบันชาติสมัยพุทธกาล

ในพุทธกาลนี้ นางวิสาขาเป็นธิดาของนางสุมนเทวี (สุมนาเทวี) (ภริยาหลวง) บิดาชื่อธนัญชัยเศรษฐี เป็นหลานของเมณฑกเศรษฐี และนางจันทปทุมา ผู้เป็นปู่ย่า ในภัททิยนคร แคว้นอังคะ

ประมาณพรรษาที่ ๕ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานั้นนางมีอายุได้ ๗ ขวบ พระทศพลทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของเสลพราหมณ์ และเหล่าสัตว์พวกจะตรัสรู้อื่นๆ พระองค์พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปถึงนครนั้น ในแคว้นนั้น

สมัยนั้น เมณฑกคฤหบดี เป็นหัวหน้าของเหล่าผู้มีบุญมาก ๕ คน ครองตำแหน่งเศรษฐี เหล่าผู้มีบุญมาก ๕ คน คือ

เมณฑกเศรษฐี ๑
ภริยาหลวงของเศรษฐี ชื่อจันทปทุมา ๑
บุตรชายคนโตของเศรษฐี ชื่อธนัญชัย ๑
ภริยาของธนัญชัยนั้น ชื่อสุมนเทวี ๑
ทาสของเมณฑกเศรษฐี ชื่อปุณณะ ๑

มิใช่แต่เมณฑกเศรษฐีอย่างเดียวดอก ถึงในราชอาณาจักรของพระเจ้าพิมพิสาร ก็มีบุคคลผู้มีโภคสมบัตินับไม่ถ้วนถึง ๕ คน คือ โชติยะ ชฏิละ เมณฑกะ ปุณณะ และกากพลิยะ

บรรดาคนทั้ง ๕ นั้น เมณฑกเศรษฐีนี้ ทราบว่าพระทศพลเสด็จมาถึงนครของตน จึงเรียกเด็กหญิงวิสาขา หลานสาวซึ่งขณะนั้นนางมีอายุได้ ๗ ขวบ มาแล้วสั่งอย่างนี้ว่า

แม่หนู เป็นมงคลทั้งเจ้า ทั้งปู่ เจ้าจงพาเกวียน ๕๐๐ เล่ม พร้อมด้วยเด็กหญิง ๕๐๐ คน บริวารของเจ้ามีทาสี ๕๐๐ นาง เป็นบริวาร จงทำการรับเสด็จพระทศพล

นางฟังคำของปู่ ก็ปฏิบัติตาม แต่เพราะนางเป็นผู้ฉลาดในเหตุและมิใช่เหตุ นางก็ไปด้วยยานเท่าที่พื้นที่ยานจะไปได้แล้ว ก็ลงจากยานเดินไปเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง


๐ นางวิสาขาได้โสดาปัตติผลแต่อายุ ๗ ขวบ

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดด้วยอำนาจจริยาของนาง จบเทศนา นางก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับเด็กหญิง ๕๐๐ คน แม้เมณฑกเศรษฐี ก็เข้าไปเฝ้าถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง

พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรด ด้วยอำนาจจริยาของเศรษฐีนั้น จบเทศนา เมณฑกเศรษฐีก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อาราธนาพระศาสดา เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น

วันรุ่งขึ้นก็เลี้ยงดูพระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารอย่างประณีตในนิเวศน์ของตน ได้ถวายมหาทานโดยลักษณะนั้นครึ่งเดือน พระศาสดาประทับอยู่ ณ ภัททิยนครตามพุทธอัธยาศัยแล้วก็เสด็จหลีกไป


๐ พระเจ้าปเสนทิโกศลอยากได้ผู้มีบุญ

ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าปเสนทิโกศลต่างก็เป็นพระภัสดา (สามี) ของพระภคินี (น้องสาว) ของกันและกัน

ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าโกศลทรงดำริว่า

“คนมีโภคะนับไม่ถ้วน มีบุญมากทั้ง ๕ มีอยู่ในแคว้นพระเจ้าพิมพิสาร แต่ในแคว้นของเรา ผู้มีบุญเช่นนั้น แม้เพียงคนเดียวก็ไม่มี อย่ากระนั้นเลย เราพึงไปสู่สำนักของพระเจ้าพิมพิสารขอผู้มีบุญมากสักคนหนึ่ง”

พระองค์จึงเสด็จไปภัททิยนคร แคว้นอังคะ ครั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทำปฏิสันถารทูลถามว่า “พระองค์เสด็จมา เพราะเหตุไร ?” พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสว่า “หม่อมฉันมา ด้วยประสงค์ว่า คนมีโภคะนับไม่ถ้วน มีบุญมากทั้ง๕ คน อยู่ในแคว้นของพระองค์ หม่อมฉันจักพาเอาคนหนึ่งจาก ๕ คนนั้นไป ขอพระองค์จงประทานคนหนึ่งใน ๕ คนนั้น แก่หม่อมฉันเถิด”

พิมพิสาร หม่อมฉันไม่อาจจะให้ตระกูลใหญ่ๆ ย้ายได้

ปเสนทิโกศล หม่อมฉันไม่ได้ ก็จักไม่ไป


๐ มอบธนญชัยเศรษฐีให้พระเจ้าโกศล

พระเจ้าพิมพิสารทรงปรึกษากับพวกอำมาตย์แล้วตรัสว่า “ชื่อว่าการย้ายตระกูลใหญ่ๆ มีโชติยสกุลเป็นต้น เช่นกับแผ่นดินไหว แต่บุตรของเมณฑกเศรษฐีชื่อธนญชัยเศรษฐี มีอยู่ หม่อมฉันปรึกษากับเธอเสร็จแล้ว จักถวายคำตอบแด่พระองค์” ดังนี้แล้ว รับสั่งให้เรียกธนญชัยเศรษฐีมาแล้ว ตรัสว่า

“พ่อ พระเจ้าโกศลตรัสว่า จักพาเอาเศรษฐีมีทรัพย์คนหนึ่งไป เธอจงไปกับพระองค์เถิด”

ธนญชัยเศรษฐีทูลตอบว่า เมื่อพระองค์มีพระราชประสงค์ ข้าพระองค์ก็จักไป พระเจ้าข้า

พระเจ้าพิมพิสาร ถ้าเช่นนั้น เธอจงทำการตระเตรียมไปเถิด พ่อ

ธนญชัยเศรษฐีนั้น จึงได้ทำกิจจำเป็นที่ควรทำของตนแล้ว

ฝ่ายพระราชาทรงทำสักการะใหญ่แก่เขา ทรงส่งพระเจ้าปเสนทิโกศลไปด้วยพระดำรัสว่า

“ขอพระองค์จงพาเศรษฐีนี้ไปเถิด”

ท้าวเธอพาธนญชัยเศรษฐีนั้นเสด็จไปโดยการประทับแรมราตรีหนึ่งในที่นี้ทั้งปวง บรรลุถึงสถานอันผาสุกแห่งหนึ่งแล้ว ก็ทรงหยุดพัก


๐ การสร้างเมืองสาเกต

ครั้งนั้น ธนญชัยเศรษฐี ทูลถามท้าวเธอว่า “บริเวณนี้เป็นแคว้นของใคร พระเจ้าข้า ?”

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตอบว่า เป็นของเรา ท่านเศรษฐี

ธนญชัยเศรษฐีถามว่า จากที่นี้ไปถึงเมืองสาวัตถี ไกลเท่าไร พระเจ้าข้า ?

พระเจ้าปเสนทิโกศลตอบว่า ไปอีก ๗ โยชน์

ธนญชัยเศรษฐีทูลว่า ภายในพระนครคับแคบ ชนบริวารของข้าพระองค์มีอยู่มาก ถ้าพระองค์ทรงโปรดไซร้ ข้าพระองค์พึงอยู่ที่นี้แหละ พระเจ้าข้า

พระราชาทรงรับว่า “ดีละ” ดังนี้แล้ว ให้สร้างเมืองในที่นั้น ได้พระราชทานแก่เศรษฐีนั้นแล้วเสด็จกลับไป เมืองนั้นได้นามว่า “สาเกต” เพราะความที่ประเทศนั้นเศรษฐีจับจองแล้วในเวลาเย็น

ในกรุงสาวัตถี บุตรของมิคารเศรษฐี ชื่อปุณณวัฒนกุมารเจริญวัยแล้ว ขณะนั้น บิดาของเขารู้ว่า บุตรของเราเจริญวัยแล้ว เป็นสมัยที่จะผูกพันด้วยการครองเรือน ครั้งนั้น มารดาบิดากล่าวกะเขาว่า “พ่อ เจ้าจงเลือกเด็กหญิงคนหนึ่งในที่เป็นที่ชอบใจของเจ้า”

ปุณณะ กิจด้วยภริยาเห็นปานนั้น ของผมไม่มี

มารดาบิดา เจ้าอย่าทำอย่างนี้ ลูก ธรรมดาตระกูลที่ไม่มีบุตรตั้งอยู่ไม่ได้


๐ ลักษณะเบญจกัลยาณี

ปุณณวัฒนกุมารนั้นเมื่อถูกมารดาบิดาพูดรบเร้าอยู่ จึงกล่าวว่า

“ถ้ากระนั้น ผมเมื่อได้หญิงสาวประกอบพร้อมด้วยความงาม ๕ อย่าง ก็จักทำตามคำของคุณพ่อคุณแม่”

มารดาบิดาถามว่า ก็ชื่อว่าความงาม ๕ อย่างนั้น มีอะไรบ้างเล่า ? พ่อ

ปุณณวัฒนกุมารตอบว่า คือ ผมงาม เนื้องาม กระดูกงาม ผิวงาม วัยงาม

ก็ผมของหญิงผู้มีบุญมาก เป็นเช่นกับทำหางนกยูง แก้ปล่อยระชายผ้านุ่งแล้ว ก็กลับมีปลายงอนขึ้นตั้งอยู่ นี้ชื่อว่า ผมงาม

ริมฝีปากเช่นกับผลตำลึง (สุก) ถึงพร้อมด้วยสีเรียบชิดสนิทดี นี้ชื่อว่า เนื้องาม

ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งดงามดุจระเบียบแห่งเพชร ที่เขายกขึ้นตั้งไว้และดุจระเบียบแห่งสังข์ที่เขาขัดสีแล้ว นี้ชื่อว่ากระดูกงาม

ผิวพรรณของหญิงดำไม่ลูบไล้ด้วยเครื่องประเทืองผิวเป็นต้นเลย ก็ดำสนิทประหนึ่งพวกอุบลเขียว ของหญิงขาว ประหนึ่งพวกดอกกรรณิการ์ นี้ชื่อว่า ผิวงาม

หญิงที่แม้คลอดบุตรแล้วตั้ง ๑๐ ครั้ง ก็ยังดูงามเหมือนเพิ่งมีบุตรเพียงคนเดียวยังสาวพริ้งอยู่เทียว นี้ชื่อว่า วัยงาม ดังนี้แล


๐ เศรษฐีส่งพราหมณ์ไปแสวงหาหญิงเบญจกัลยาณี

ครั้งนั้น มารดาบิดาของนายปุณณวัฒนกุมารนั้น เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนมาให้บริโภคแล้วถามว่า “ชื่อว่าหญิงที่ต้องด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี มีอยู่หรือ ?”

พราหมณ์เหล่านั้น ตอบว่า “จ้ะ มีอยู่”

เศรษฐีกล่าวว่า “ถ้ากระนั้น พวกท่าน ๘ คนจงไปแสวงหาเด็กหญิงเช่นนั้น มาให้เรา” ดังนี้แล้ว ให้ทรัพย์เป็นอันมาก พร้อมกับสั่งว่า

“ในเวลาที่พวกท่านกลับมาพร้อมกับหญิงเช่นนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจักรู้สิ่งที่ควรทำแก่พวกท่าน ท่านทั้งหลายไปเถิด แสวงหาเด็กหญิงแม้เห็นปานนั้น และในเวลาที่พบแล้ว พึงประดับพวงมาลัยทองคำนี้” ดังนี้แล้ว ให้พวงมาลัยทองคำอันมีราคาแสนหนึ่ง แล้วส่งพวกพราหมณ์นั้นไป

พราหมณ์เหล่านั้น ไปยังนครใหญ่ๆ แสวงหาอยู่ ก็ไม่พบเด็กหญิงที่ต้องด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี จึงกลับมาถึงเมืองสาเกตโดยลำดับ ในวันนั้นเมืองสาเกตมีงานนักขัตฤกษ์เปิด (หมายเหตุ นักษัตรเปิดเผย เป็นงานประจำปีของนครสาเกต ในงานนี้ชาวเมืองทุกคนเผยร่างโดยปราศจากผ้าคลุมปิดหน้า เดินเท้าไปยังแม่น้ำ) พอดีจึงคิดกันว่า

“การงานของพวกเราคงสำเร็จในวันนี้เป็นแน่”


๐ งานประจำปีของนครสาเกต

ก็ในนครนั้น ชื่อว่างานนักขัตฤกษ์ย่อมมีประจำปี

ในกาลนั้นแม้กระกูลที่ไม่ออกภายนอก ก็ออกจากเรือนกับบริวาร มีร่างกายมิได้ปกปิด ไปสู่ฝั่งแม่น้ำด้วยเท้าเทียว ในวันนั้นถึงบุตรหลานของตระกูลขัตติยมหาศาลทั้งหลายเป็นต้น ก็ยืนแอบหนทางนั้นๆ ด้วยตั้งใจว่า เมื่อพบเด็กหญิงตระกูลที่ตนพึงใจ มีชาติเสมอด้วยตนแล้วจะคล้องด้วยพวงมาลัย


๐ พราหมณ์พบนางวิสาขา

พราหมณ์เหล่านั้น เข้าไปถึงศาลาแห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำแล้วได้ยืนอยู่ ขณะนั้นนางวิสาขา มีอายุย่างเข้า ๑๕–๑๖ ปี ประดับประดาด้วยเครื่องอาภรณ์ครบทุกอย่าง มีเหล่ากุมารี ๕๐๐ คนแวดล้อมกำลังมุ่งหน้าไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำ

ครั้งนั้นแล เมฆตั้งขึ้นแล้วฝนก็ตกลงมา เด็กหญิง ๕๐๐ ก็รีบเดินเข้าไปสู่ศาลา

พวกพราหมณ์พิจารณาดูอยู่ ก็ไม่เห็นเด็กหญิงเหล่านั้นแม้สักคนเดียวที่ต้องด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี ส่วนนางวิสาขาเข้าไปยังศาลาด้วยการเดินตามปกตินั่นเอง ผ้าและอาภรณ์เปียกโชก

พวกพราหมณ์เห็นความงาม ๔ อย่างของนางแล้ว ประสงค์จะเห็นฟัน จึงกล่าวกะกันและกันว่า

“หญิงผู้เฉื่อยชานี้ สามีของหล่อนเห็นทีจักไม่ได้ แม้เพียงข้าวปลายเกวียน”

นางวิสาขาได้ยินดังนั้นจึงพูดกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า “พวกท่านว่าใครกัน”

พราหมณ์ : ว่าเธอ แม่

ได้ยินว่า เสียงอันไพเราะของนาง เปล่งออกประหนึ่งเสียงกังสดาล ลำดับนั้น นางจึงถามพราหมณ์เหล่านั้นด้วยเสียงอันไพเราะอีกว่า “เพราะเหตุไร ? จึงว่าฉัน”

พราหมณ์ : หญิงบริวารของเธอ ไม่ให้ผ้าและเครื่องประดับเปียกรีบเข้าสู่ศาลา กิจแม้เพียงการรีบมาสู่ที่ประมาณเท่านี้ของเธอก็มิได้มี เธอปล่อยให้ผ้าและเครื่องอาภรณ์เปียกมากแล้ว เพราะฉะนั้น พวกเราจึงพากันว่าดังนั้น

วิสาขา : พ่อทั้งหลาย พวกท่านอย่าพูดอย่างนี้ ฉันแข็งแรงกว่าเด็กหญิงเหล่านั้น แต่ฉันกำหนดเหตุการณ์แล้ว จึงไม่มาโดยเร็ว

พราหมณ์ : เหตุอะไร ? แม่


๐ ชน ๔ จำพวกวิ่งไปไม่งาม

วิสาขา : พ่อทั้งหลาย ชน ๔ จำพวก เมื่อวิ่ง ย่อมไม่งาม เหตุอันหนึ่ง แม้อื่นอีก ยังมีอยู่

พราหมณ์ : ชน ๔ จำพวก เหล่าไหน ? เมื่อวิ่ง ย่อมไม่งาม แม่

วิสาขา : พ่อทั้งหลาย พระราชาผู้อภิเษกแล้ว ทรงประดับประดาแล้วด้วยเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง เมื่อถกเขมรวิ่งไปในพระลานหลวงย่อมไม่งาม ย่อมได้ความครหาเป็นแน่นอนว่า ทำไม พระราชาองค์นี้จึงวิ่งเหมือนคฤหบดี ค่อยๆ เสด็จไปนั่นแหละ จึงจะงาม

แม้ช้างมงคลของพระราชา ประดับแล้ว วิ่งไป ก็ไม่งาม ต่อเมื่อเดินไปด้วยลีลาแห่งช้าง จึงจะงาม

บรรพชิต เมื่อวิ่ง ก็ไม่งาม ย่อมได้แต่ความครหาอย่างเดียวเท่านั้นว่า ทำไม สมณะรูปนี้ จึงวิ่งไปเหมือนคฤหัสถ์ แต่ย่อมงาม ด้วยการเดินอย่างอาการของผู้สงบเสงี่ยม

สตรีเมื่อวิ่งก็ไม่งาม ย่อมถูกเขาติเตียนอย่างเดียวว่า ทำไม หญิงคนนี้ จึงวิ่งเหมือนผู้ชาย แต่ย่อมงามด้วยการเดินอย่างธรรมดา พ่อทั้งหลาย ชน ๔ จำพวกเหล่านั้นเมื่อวิ่งไป ย่อมไม่งาม

พราหมณ์ : ก็เหตุอื่นอีกอย่างหนึ่ง เป็นไฉน ? แม่

วิสาขา : พ่อทั้งหลาย ธรรมดามารดาบิดา ถนอมอวัยวะน้อยใหญ่เลี้ยงดูธิดา เพราะว่า พวกฉัน ชื่อว่าเป็นสิ่งของอันมารดาบิดาพึงขาย มารดาบิดาเลี้ยงฉันมา ก็เพื่อต้องการจะส่งไปสู่ตระกูลอื่น ถ้าว่า ในเวลาที่พวกฉันวิ่งไป เหยียบชายผ้านุ่งหรือลื่นล้มลงบนพื้นดิน มือหรือเท้าก็จะพึงหัก พวกฉันก็จะพึงเป็นภาระของตระกูลนั้นแล ส่วนเครื่องแต่งตัว เปียกแล้วก็จักแห้ง ดิฉันกำหนดเหตุนี้ จึงไม่วิ่งไป พ่อ